Saturday, May 18, 2024
เที่ยวไปรักษ์ไป บทความแนะนำ

โมโกจู ที่อยู่ของหัวใจ

นิตยสารอนุรักษ์ ฉบับที่ 14
เรื่อง: นิภาพร ทับหุ่น
ภาพ: กิตตินันท์ รอดสุพรรณ

โมโกจู

ที่อยู่ของหัวใจ

เคยไหม นั่งนิ่งๆ แล้วได้ยินเสียงใบไม้ไหวปะทะกับสายลมที่หวีดหวิวกังวานไกล ไพเราะจับใจราวกับเสียงดนตรีเคยไหม เพียงหยดน้ำใสๆ ที่ร่วงหล่นจากปลายกระบอกไม้ไผ่ก็ทำให้สดชื่นได้เหมือนดื่มเกลือแร่ แล้วเคยไหม…แค่ยืนมองหินก้อนโตตั้งตระหง่านโต้ร้อนหนาวอยู่บนยอดเขาก็ยิ้มออกมาได้คล้ายกำลังยืนดูการร่ายรำของศิลาถ้าไม่เคย เราควรออกเดินทางไปพร้อมกัน

ความชันในระดับที่หย่อน ๙๐ องศาไม่มากไม่น้อยนั้น แทบจะดับฝันคนแรมทางลงอย่างไม่เหลือเค้าความทะยานอยากใดๆ ความเหนื่อยล้าที่สะสมมา ๒ วันเต็มๆ รวมตัวกันมาประท้วงร่างกายให้หยุดพัก แต่…อุปสรรคมีไว้พุ่งชนเสมอ

ณ ที่ที่ขอบฟ้ากับภูผาบรรจบกัน

ชื่อเสียงของความโหดหินในการเดินป่าระยะไกลเพื่อพิชิตยอดเขาที่อยู่ปลายขอบฟ้านั้น คือของหวานชั้นดีของนักเดินทางผู้รักการผจญภัย และทุกๆ ปีก็มีผู้คนมากมายได้สัมผัสและลิ้มรสชาติความหวานชื่นของผืนป่าราวกับถูกมนตราสะกดใจ แน่นอน พวกเขามักกลับไปที่นั่นอีกเสมอๆ เมื่อมีโอกาส

โมโกจู เป็นยอดเขาที่ตั้งอยู่ในอุทยานแห่งชาติแม่วงก์ จังหวัดกำแพงเพชร ถือเป็นยอดเขาที่สูงที่สุดของอุทยานฯ เพราะมีความสูงถึง ๑,๙๖๔ เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง เสน่ห์ของโมโกจูอาจไม่ใช่ความสูงเพราะถ้ามีการจัดลำดับเรื่องนี้ในประเทศไทยโมโกจูจะเป็นยอดเขาที่สูงอยู่ในลำดับ ๖ แต่สิ่งที่ทำให้ใครๆ หลงใหลและพร้อมใจกันมาเยือน น่าจะเป็นเพราะ “ความลำบาก” ที่ติดอันดับต้นๆ ของประเทศมากกว่า

ตระเตรียมข้าวของที่จะต้องนำติดตัวไปในป่า ณ ที่ทำการอุทยานแห่งชาติแม่วงก์
บางช‹วงเปšนลำธารขนาดใหญ‹ก็มีการสรŒางสะพานไมŒไผ‹เพื่อใหŒเดินสะดวก
ลูกหาบชาวปกาเกอะญอคือเพื่อนร‹วมทางที่ดีและมีความรูŒเกี่ยวกับป†ามาก
ความสวยงามของสิ่งมีชีวิตตามธรรมชาติระหว‹างทาง

เหตุใดผูŒคนส‹วนหนึ่งจึงปรารถนาความลำบาก จริงๆ คงไม‹มีใครอยากพาตัวเองไปอยู‹ในสภาวการณแบบนั้น ขาดแคลนทั้งอาหาร นํ้าดื่ม ตŒองสูŒรบกับอุณหภูมิที่หนาวเหน็บ ทั้งยังตŒองบาดเจ็บทางร‹างกายอีกหลายขนาน แต‹อุปสรรคเหล‹านั้นสอน “วิชาชีวิต”ใหŒกับนักเดินทาง และมันก็ทำใหŒ “หัวใจ” ของพวกเขากลŒาแกร‹งมากขึ้น

บนเทือกเขาถนนธงชัยที่สลับซับซŒอนโมโกจูตั้งตระหง‹านอยู‹ทางทิศตะวันตกสุดของอุทยานฯ ซึ่งคำว‹า “โมโกจู” เปšนภาษาปกาเกอะญอ แปลว‹า คลŒายว‹าฝนจะตก คือมองขึ้นไปเหมือนมีเมฆขาวลอยปดอยู‹ตลอดเวลา จนมองดูคลŒายว‹าฝนจะตกทุกที หรืออีกนัยหนึ่งหมายถึง “เขาเหนือเมฆ”

ทั้งไกลทั้งสูงเทียมเมฆขนาดนี้ การไปถึงได้จึงยากเย็น หากใช้การเดินเท้าจะเข้าถึงยอดเขาโมโกจูได้ต้องใช้เวลา ๕ วัน ๔ คืน ซึ่งอุทยานแห่งชาติแม่วงก์เปิดเส้นทางท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ธรรมชาติให้นักท่องเที่ยวเข้าไปสัมผัสทุกปี ในช่วงเดือนพฤศจิกายน – กุมภาพันธ์ โดยต้องติดต่อเจ้าหน้าที่ล่วงหน้าว่ากันว่าแม้จะลำบากเพียงไหน แต่ก็มีผู้คนมากมายต้องการเดินทางมา ถึงขนาดแจ้งความประสงค์ในการเดินทางล่วงหน้ากันเป็นปีๆ เพราะฉะนั้นจึงมีนักเดินป่าเพียงปีละ ๔๐๐-๕๐๐ คนเท่านั้นที่มีโอกาสทำความรู้จักกับยอดเขาโมโกจูอย่างแท้จริง

ความอุดมสมบูรณ์แบบนี้ที่สิ่งมีชีวิตต้องการ

กางเต็นท์ ณ จุดพักแรมในป่า

เหตุที่ต้องใช้ระยะเวลาเนิ่นนานขนาดนั้นเป็นเพราะระยะทางไป-กลับทั้งหมดรวมกันได้มากถึง ๖๔ กิโลเมตร และเป็น ๖๔ กิโลเมตรที่อยู่กับเนินที่มีแต่จะสูงขึ้นๆ เริ่มจากวันแรกจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติแม่วงก์เดินเลาะเข้าป่าผ่านเนินที่ใครๆ เรียกว่า “มอขี้แตก”ไปจนเมื่อยเท้า ผ่านลำธารใสๆ และแมกไม้ในราวป่าเข้าไปประมาณ ๑๖ กิโลเมตร ก็จะถึง “แคมป์แม่กระสา” จุดพักแรมในค่ำคืนแรก

อาหารง่ายๆ ถูกตระเตรียมขึ้นอย่างเย็นใจ และผักกูดที่ชูช่อสดใสอยู่ริมลำธารก็คืออาหารชั้นดีของมื้อนี้ ส่วนลูกส้านใหญ่ก็นำมากินเล่นได้ รสชาติคล้ายมะดันรสเปรี้ยว แก้กระหายให้เหล่านักเดินทางได้ดี

น้ำใสไหลเย็น กรอกมาดื่มได้โดยไม่ต้องกลัวพิษภัยหรือสารเคมี

การเดินป่าทำให้ทุกคนได้รู้ว่า ป่าคือแหล่งอาหารอันอุดม พืชพันธุ์หลายชนิดหาหยิบหากินได้จากป่า ไม่ต้องพูดถึงน้ำท่าเพราะที่ไหนมีป่า ที่นั่นมีน้ำ และน้ำในป่าก็สะอาดปราศจากสารเคมี สามารถรองน้ำมาดื่มมาใช้ได้โดยไม่ต้องเกรงอันตรายใดๆ แต่ต้องรองจากน้ำไหล ไม่ใช่น้ำนิ่ง หรือถ้าหาแหล่งธารไม่ได้ก็หาน้ำเอาจากปล้องไผ่หรือเถาวัลย์ก้านโต

ความงดงามของผืนป่าที่ติดตราตรึงใจ

พืชพันธุ์หลายชนิดหาหยิบหากินได้จากป่า ไม่ต้องพูดถึงน้ำท่า เพราะที่ไหนมีป่าที่นั่นมีน้ำ และน้ำในป่าก็สะอาดปราศจากสารเคมี สามารถรองน้ำมาดื่มมาใช้ได้โดยไม่ต้องเกรงอันตรายใดๆ

การเดินทางในวันที่ ๒ อาจไม่มากมายอะไร แค่ ๔ กิโลเมตรจากแคมป์แม่กระสาไปยัง “แคมป์แม่เรวา” แต่ความพิเศษคือจะได้เดินเท้าต่อไปอีก ๓ กิโลเมตรเพื่อชื่นชม “น้ำตกแม่รีวา” ที่สวยงามจับใจ โดยอยู่ลึกเข้าไปในผืนป่า จึงต้องใช้เวลาพอสมควรกับการเดินเท้าไป-กลับน้ำตกราว ๖ กิโลเมตร

ความหฤโหดของการเดินทางดูจะอยู่ในช่วงของวันที่ ๓ แม้ระยะทางจะไม่มากแค่ ๘ กิโลเมตรเศษๆ แต่เนินเขาเหล่านั้นก็ดูจะมีความสูงแบบไม่จบสิ้น นักเดินทางต้องพยายามยกขาขึ้นไปเรื่อยๆ แต่ถ้าเหนื่อยมากๆ ก็ต้องหยุดพัก ตอนนี้เองที่ทุกคนจะได้ยินเสียง “หัวใจ” ทั้งหัวใจของตัวเองที่เต้นดังโครมคราม และหัวใจของผืนปา่ ที่หวีดหวิวไปกับสายลม จนฟังคล้ายเสียงดนตรี

หินเรือใบ สัญลักษณของยอดเขาโมโกจู

เมื่อทุกคนผ่าน ๘ กิโลเมตร “นรก” อัน แสนโหดหินมาได้ ก็จะพบกับ “สวรรค์” ที่รอ อยู่ปลายทาง ซึ่งต้องเดินเท้าไปกลับอีกราว ๒ กิโลเมตร

“หินเรือใบ” ก้อนนั้นไม่หวั่นไหวต่อ สายลมที่พัดผ่าน หรือแม้แต่หยดน้ําจากฟาก ฟ้าก็ไม่สามารถกร่อนกลืนให้พื้นหินต้องบุบสลาย มันยังคงตั้งอยู่อย่างนั้นเพื่อรอให้นัก เดินทางขึ้นไปสัมผัส และตรวจสภาพหัวใจของตัวเองกับผืนป่าว่ายังแข็งแรงปลอดภัย

ทะเลหมอกเบื้องหน้าเคลื่อนที่อย่างช้าๆ ตามกระแสลม หลายคนอาจหลงเสน่ห์ของภาพเบื้องหน้าจนไม่อยากพาตัวเองกลับมา จากจุดนั้น แต่…ไม่มีใครยืนอยู่บนที่สูงได้ ตลอดกาล เมื่อถึงวันเวลาที่เหมาะสมก็ต้องพาตัวเองลงมาจากจุดนั้นทุกคน

ไม่มีใครยืนอยู่บนที่สูงได้ตลอดกาล เมื่อถึงวันเวลาที่เหมาะสมก็ต้อง พาตัวเองลงมาจากจุดนั้นทุกคน

ปลายขอบฟ้าที่ตามหามาเนิ่นนาน เด่นตระหง่านอยู่ตรงหน้าแล้ว

แม้จะเป็นเส้นทางเดิมในระยะเวลาที่ เหลืออีก ๒ วัน กับเส้นทาง ๒๘ กิโลเมตร แต่ไม่มีใครเบื่อหน่ายที่จะหยุดชมความเขียวขจีของผืนป่า มีแต่จะพยายามจดจํารายละเอียดเล็กๆ น้อยๆ ของต้นไม้ทุกต้นไว้ เพื่อที่วัน หนึ่งเมื่อพวกเขากลับมาใหม่ จะได้ช่วยกัน ยืนยันว่าต้นไม้ต้นนั้น “ยังอยู่” ในป่า และไม่ได้หายไปไหน

ความลําบากจากการเดินป่าไม่น่าจะทําให้ทุกคนที่กลับมาดูสดชื่นเบิกบาน ในป่า ต้องมีความลับอะไรที่ทําให้ “หัวใจ” ของ ทุกคนแข็งแรงเนิ่นนานขนาดนี้แน่ๆ

About the Author

Share:
Tags: ธรรมชาติ / สิ่งแวดล้อม / ต้นไม้ / ป่า / ฉบับที่ 14 / โมโกจู /

เรื่องราวอีกมากมายที่คุณจะชอบ