Sunday, May 19, 2024
ชื่นชมอดีต บทความแนะนำ

พระบรมสาทิสลักษณ์ ในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก เปิดเผยครั้งแรกในสื่อตะวันตก

นิตยสารอนุรักษ์ ฉบับที่ 35
เรื่อง/ภาพ: ไกรฤกษ์ นานา

ภาพพระบรมสาทิสลักษณ์รัชกาลที่ ๔ ทรงฉลองพระองค์ในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก

พระบรมสาทิสลักษณ์

ในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก

เปิดเผยครั้งแรกในสื่อตะวันตก

พระราชพิธีบรมราชาภิเษก เป็นพระราชพิธีสำคัญพิธีหนึ่งสำหรับทุกประเทศที่มีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุข พิธีนี้เป็นเครื่องเชิดชูเฉลิมพระเกียรติยศองค์พระประมุขว่าได้ทรงเป็นพระราชาธิบดีของประเทศนั้นโดยสมบูรณ์แล้วสำหรับเนื้อหาแห่งพิธีนั้นย่อมแตกต่างกันออกไปตามขนบธรรมเนียมของแต่ละประเทศ

ในประเทศไทยได้ยึดถือธรรมเนียมปฏิบัติดั้งเดิม ๕ ขั้นตอน อันเป็นข้อปฏิบัติต้นตํารับของประเพณีเก่าตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยามาแล้ว

การพระราชพิธีบรมราชาภิเษกนั้น มีขั้นตอนของพิธีที่ อาจแบ่งแยกออกไปได้เป็น ๕ ตอนดังนี้

๑. ขั้นเตรียมพิธี มีการทําพิธีตักน้ําและตั้งพิธีเสกน้ําสําหรับถวายเป็นน้ําอภิเษกและน้ําสรงพระมุรธาภิเษก กับทํา พิธีจารึกพรสุพรรณบัฏ ดวงพระบรมราชสมภพ และสร้าง พระราชลัญจกรประจํารัชกาล

๒. พิธีเบื้องต้น มีการเจริญพระพุทธมนต์ ตั้งวงด้าย จุดเทียนชัย และเจริญพระพุทธมนต์ในการพระราชพิธีบรมราชาภิเษก

๓. พิธีบรมราชาภิเษก มีพิธีสรงพระมุรธาภิเษก แล้ว ประทับพระแท่นอัฐทิศอุทุมพรรับน้ําอภิเษก ประทับพระที่นั่ง ภัทรบิฐรับการถวายสิริราชสมบัติและเครื่องสิริราชกกุธภัณฑ์

๔. พิธีเบื้องปลาย มีการเสด็จออกมหาสมาคม สถาปนา สมเด็จพระบรมราชินี แล้วเสด็จพระราชดําเนินไปทําพิธีประกาศพระองค์เป็นศาสนูปถัมภกในพระบวรพุทธศาสนา ถวายบังคมพระบรมศพ พระบรมอัฐิ พระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระอัครมเหสีในรัชกาลก่อนๆ และเสด็จเฉลิมพระราชมณเฑียร

๕. เสด็จพระราชดําเนินเลียบพระนคร โดยกระบวนการพยุหยาตราทั้งทางสถลมารคและชลมารค

ทว่าตั้งแต่ในรัชกาลที่ ๔ พ.ศ. ๒๓๙๔ (ค.ศ. ๑๘๕๑) เป็นต้นมาภายหลังจากการเปิดประเทศแล้ว ราชสํานักสยามก็มีปฏิสัมพันธ์กับชาวต่างประเทศมากยิ่งขึ้น ส่งเสริมให้ภาพ จากพิธีกรรมอันโดดเด่นสองพิธีถูกบันทึกภาพโดยชาวยุโรปนําออกไปเผยแพร่เกียรติประวัติถึงในต่างประเทศ

พิธีที่ว่านี้ก็คือ ข้อ (๔) การออกมหาสมาคม และ ข้อ (๕) การเสด็จฯ เลียบพระนคร ภาพจากพระราชพิธีทั้งสองนี้ชาวต่างชาติได้รับอนุญาตให้เข้าร่วมพิธีเป็นครั้งแรกในรัชกาลที่ ๔ ดังที่สมเด็จฯ กรมพระยาดํารงราชานุภาพประทาน พระดํารัสเล่าให้ฟังว่า…

ภาพนี้ถูกนำไปเผยแพร่ใน หนังสือพิมพ์ THE ILLUSTRATED LONDON NEWS ของประเทศอังกฤษ

“เมื่อถึงงานพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงแก้ประเพณีเก่าอีกอย่างหนึ่งในวันเสด็จออกมหาสมาคมในพระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัยด้วยพระราชทานบรมราชานุญาตให้พวกฝรั่งที่อยู่ในกรุงเทพฯ เข้าเฝ้าด้วย เรื่องนี้ในเวลานั้นก็ไม่มีใครเห็นเป็นการแปลก ประหลาดนัก เพราะเป็นแต่มีฝรั่งสัก ๑๐ คน เข้าไปยืนเฝ้าอยู่ ข้างหลังแถวที่ขุนนางหมอบ แต่การนั้นมีผลมาก (ถึงมาเป็น ประโยชน์ในการเมืองภายหลัง ดังจะเล่าในที่อื่นต่อไป) เพราะฝรั่งเหล่านั้นพากันเขียนบอกข่าวออกไปถึงนานา ประเทศ ว่าพระเจ้าแผ่นดินสยามพระองค์ใหม่ทรงเปลี่ยนขนบธรรมเนียมหันเข้าหาอริยธรรมอย่างฝรั่ง ผิดกับพระเจ้า แผ่นดินพระองค์อื่นๆ ทางตะวันออก ฝรั่งตามต่างประเทศ พากันพิศวง เริ่มเกิดไมตรีจิตต่อประเทศสยามผิดกว่าแต่ก่อน แม้ด้วยทรงเปลี่ยนแปลงประเพณีเดิมเพียงเล็กน้อยเท่านั้น”

ภาพพระบรมสาทิสลักษณ์รัชกาลที่ ๔ ในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ปรากฏขึ้นหน้าหนึ่งนสพ. ฝรั่งเศส ค.ศ. ๑๘๖๖

เหตุผลเกี่ยวกับการที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า เจ้าอยู่หัวพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ฝรั่งเข้าเฝ้านั้นมีที่มาตามที่สมเด็จฯ กรมพระยาดํารงราชานุภาพทรง ขยายความต่อไปว่า…

“ทรงพระราชดําริต่อไปว่าประเทศทั้งหลายทางตะวันออกนี้ ต่อไปภายหน้าคงจะมีการเกี่ยวข้องกับฝรั่งมากขึ้นทุกที ถ้าไม่เปลี่ยนรัฏฐาภิบาลโนบายของประเทศสยาม ให้ฝรั่งนิยม ว่าไทยพยายามบํารุงบ้านเมือง ให้เจริญตามอริยธรรม ก็อาจ จะไม่ปลอดภัยไปได้มั่นคง คงทรงพระราชดําริเช่นว่ามาแต่ยังทรงผนวชอยู่ เพราะฉะนั้นพอเสด็จผ่านพิภพ ตั้งแต่ก่อนทําพิธี ราชาภิเษก ก็ทรงแก้ไขขนบธรรมเนียมเก่า เริ่มด้วยดํารัสสั่ง ให้เลิกประเพณีเข้าเฝ้าตัวเปล่าไม่ใส่เสื้อ ให้เจ้านายและข้าราชการใส่เสื้อเข้าเฝ้าต่อไปเป็นนิจ การที่พระบาทสมเด็จ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ดํารัสให้ใส่เสื้อดังว่ามา คนในสมัยนี้ ได้ฟังเล่าอาจจะเห็นขัน ด้วยเข้าใจว่าเป็นการเล็กๆ น้อยๆ ขี้ประติ้ว ไม่น่าจะยกขึ้นกล่าว ต่อไปได้อ่านหนังสือจดหมายเหตุ เก่าจึงเห็นว่าแม้เป็นการเพียงเท่านั้น ก็ไม่สําเร็จได้โดยง่าย

ข้อนี้ปรากฏอยู่ในหนังสือ เซอร์ จอน เบาริง ราชทูต อังกฤษแต่งเล่าเรื่องที่เข้ามากรุงเทพฯ ภายหลังมาอีก ๓ ปี ว่าเมื่อไปหาสมเด็จเจ้าพระยาฯ องค์ใหญ่ ครั้งแรกจัดรับอย่าง เต็มยศ เห็นสมเด็จเจ้าพระยาฯ องค์ใหญ่แต่งตัวนุ่งจีบคาด เข็มขัดเพ็ชร แต่ตัวเปล่าไม่ใส่เสื้อ ความที่กล่าวส่อให้เห็นต่อ ไปว่าขุนนางผู้น้อยซึ่งเป็นบริวารอยู่ในที่นั้น ก็คงไม่ใส่เสื้อ เหมือน กันทั้งนั้น เพราะถือกันว่าต้องใส่เสื้อในเวลาเข้าเฝ้า เวลาอื่นยัง มีเสรีภาพที่จะรับแขก หรือไปไหนตัวเปล่าได้เหมือนอย่างเดิม เพราะทางประเทศตะวันออกนี้ ไม่ใช่แต่ในประเทศสยามประเทศเดียว ถือกันมาแต่โบราณว่าต้องรักษาประเพณีที่มีมา แต่ก่อน มิให้เสื่อมทราม บ้านเมืองจึงอยู่เย็นเป็นสุข”

“การเสด็จออกมหาสมาคม” คือพิธีอะไร? และ “การเสด็จ เลียบพระนคร” มีความสําคัญอย่างไร? จําเป็นต้องอาศัย คําอธิบายของผู้เชี่ยวชาญงานพระราชพิธีของสํานักพระราชวัง เป็นผู้เล่า ดังเนื้อความพอสังเขปต่อไปนี้

ภาพพระบรมสาทิสลักษณ์รัชกาลที่ ๕ ปรากฏในหน้า นสพ. อเมริกันและอังกฤษ ในงานพระราชพิธีบรมราชาภิเษก

เสด็จออกมหาสมาคม

พระราชพิธีสําคัญเกิดขึ้นในวันเดียวกันกับวันที่พระเจ้าแผ่นดินทรงรับพระบรมราชาภิเษกนี้คือ พิธีเสด็จออกมหาสมาคม

ตามโบราณราชประเพณีแล้ว หมายถึงการเสด็จออก ณ พระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย เสด็จขึ้นประทับเหนือพระที่นั่งพุดตานกาญจนสิงหาสน์บนพระราชบัลลังก์ภายใต้พระนพปฎลมหาเศวตฉัตร

มหาดเล็กเชิญพระแสงรายตีนตอง ยืนประจําที่ทั้งสี่มุมพระราชบัลลังก์ และเบื้องหลังมหาดเล็กถวายอยู่งานพัดโบก ตามประเพณี เมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระมหา พิชัยมงกุฎ และเจ้าพนักงานสอดฉลองพระบาทเครื่องราช กกุธภัณฑ์ถวายแล้ว มหาดเล็กรัวกรับ เจ้าพนักงานไขพระวิสูตร เบื้องหน้าพระราชบัลลังก์ให้เปิดออก เจ้ากรมพระตํารวจหลวง ชูพุ่มดอกไม้ทองเป็นสัญญาณ ชาวประโคมกระทั่งมโหระทึก และประโคมแตร สังข์ กลองชนะขึ้นพร้อมกัน ทหารกองแก้ว จินดายิงปืนมหาฤกษ์มหาชัย มหาปราบยุค เฉลิมพระเกียรติยศ พระบรมวงศานุวงศ์และข้าราชการทั้งปวงที่เฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท ณ ที่นั้น ถวายบังคมพร้อมกัน

พระราชพิธีสําคัญเกิดขึ้นในวันเดียวกันกับวันที่ พระเจ้าแผ่นดินทรงรับพระบรมราชาภิเษกนี้คือพิธีเสด็จออกมหาสมาคม ตามโบราณราช ประเพณีแล้ว หมายถึงการเสด็จออก ณ พระที่นั่ง อมรินทรวินิจฉัย เสด็จขึ้นประทับเหนือพระที่นั่งพุดตานกาญจนสิงหาสน์บนพระราชบัลลังก์ภายใต้พระนพปฎลมหาเศวตฉัตร

เมื่อสุดสิ้นเสียงประโคมแล้ว มุขมาตยาและเสนาบดี จตุสดมภ์กล่าวคํากราบบังคมทูลโดยลําดับดังนี้

สมุหนายก กราบบังคมทูลถวายพระยาช้างต้น พระยาม้าต้น หัวเมืองเอก โท ตรี จัตวา และไพร่พลฝ่ายพลเรือน

สมุหพระกลาโหม กราบบังคมทูลถวายพระมหาพิชัย ราชรถ เรือพระที่นั่ง เรือกระบวน พร้อมเครื่องสรรพยุทธ กับถวายหัวเมืองเอก โท ตรี จัตวา และไพร่พลฝ่ายทหาร

เสนาบดีจตุสดมภ์ฝ่ายวัง กราบบังคมทูลถวายพระมหา ปราสาทพระราชวัง พระราเชนทรยาน และเครื่องสูง เฉลิมพระเกียรติยศ

เสนาบดีจตุสดมภ์ฝ่ายเวียง กราบบังคมทูลถวายกรุงเทพพระมหานคร

เสนาบดีจตุสดมภ์ฝ่ายคลัง กราบบังคมทูลถวายเครื่อง ราชพัทยากรราชสมบัติทั้ง ๑๒ ท้องพระคลัง

เสนาบดีจตุสดมภ์ฝ่ายนา กราบบังคมทูลถวายธัญญาหาร และแดนสถานลานนาทั่วพระราชอาณาจักร

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระบรมราชโองการ มอบให้เจ้าพระยาเสนาบดีทั้งหลายทะนุบํารุงสรรพสิ่งต่างๆอันอยู่ในหน้าที่แห่งตนไว้ให้ดี เพื่อประโยชน์ในอันที่จะป้องกัน รักษาแผ่นดิน ทํานุบํารุงพุทธศาสนาและประชาชนสืบไป

จบกระแสพระราชดํารัสแล้ว มหาดเล็กรัวกรับ เจ้าพนักงานปิดพระวิสูตร พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จขึ้น เป็นอันเสร็จสิ้นพิธีการออกมหาสมาคม

พิธีการดังกล่าวมาข้างต้น เนื้อหาแห่งพิธีเป็นประเพณี ที่ได้กระทํามาตั้งแต่รัชกาลที่ ๑ ถึงรัชกาลที่ ๕ เปลี่ยนบ้างใน เรื่องสถานที่ คือรัชกาลที่ 9 เสด็จออกมหาสมาคม ณ พระที่นั่งอมรินทราภิเษกมหาปราสาท และตั้งแต่รัชกาลที่ ๒ เป็นต้น มา เสด็จออกมหาสมาคม ณ พระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย อนึ่ง ตั้งแต่รัชกาลที่ ๕ เป็นต้นมา ได้จัดให้มีทหารบก ทหารเรือ ยิงปืนใหญ่เฉลิมพระเกียรติยศฝ่ายละ ๒๑ นัด เป็นการถวายความเคารพตามธรรมเนียมสากลในตอนที่เปิดพระวิสูตรเสด็จ ออกมหาสมาคมนั้นด้วย ต่อมาในรัชกาลที่ 5 ก็ได้มีการ เปลี่ยนแปลงหลายอย่าง คือเมื่อคราวพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พ.ศ. ๒๔๕๓ ได้จัดให้มีเจ้ากรมพระตํารวจหลวงเชิญธงชัย ราชกระบี่ธุชและธงพระครุฑพ่าห์ ยืนสองข้างพระราชบัลลังก์ เพิ่มขึ้นด้วย และเมื่อเปิดพระวิสูตร พระบรมวงศานุวงศ์ เสนาบดี และข้าทูลละอองธุลีพระบาทยืนถวายคํานับ ไม่ต้อง นั่งถวายบังคมดังแต่ก่อน

การกราบบังคมทูลในพิธีเสด็จออกมหาสมาคมก็เปลี่ยน ไป ไม่ได้ให้เสนาบดีทุกกระทรวงกราบบังคมทูลถวายสรรพสมบัติทั้งปวงดังแต่ก่อน เพียงแต่ให้เสนาบดีที่ดํารงตําแหน่งเสนาบดีมานานกว่าผู้อื่นเป็นผู้รับฉันทานุมัติ กราบบังคมทูล ในนามพระบรมวงศานุวงศ์ เสนาบดี และข้าทูลละอองธุลี พระบาททั้งปวง ข้อความที่กราบบังคมทูลก็เปลี่ยนเป็นถวาย พระพรชัยมงคลและสําแดงความจงรักภักดี ณ เบื้องพระยุคลบาท มิใช่ถวายเมือง ถวายไพร่พลและทรัพย์สินดังแต่ก่อนส่วนกระแสพระราชดํารัสตอบก็มีข้อความโดยสรุปว่าทรงขอบพระทัยและขอบใจทุกคนที่ถวายพระพร และทรงขอ ให้ทุกคนพร้อมใจกันปฏิบัติราชการแผ่นดินเพื่อความเจริญ รุ่งเรืองของพระบวรพุทธศาสนาและอาณาจักร กับเพื่อความ สมบูรณ์พูนสุขของอาณาประชาชนด้วย

ภาพรัชกาลที่ ๕ เป็นข่าวในนสพ. อเมริกัน Harper’s Weekly

ในรัชกาลที่ ๗ ราชองครักษ์เป็นผู้เชิญธงชัยราชกระบี่ธุช และธงพระครุฑพ่าห์ ส่วนการถวายพระพรชัยมงคลนั้นพระบรมราชวงศ์ผู้ใหญ่เป็นผู้ถวายพระพรชัยมงคลแทน ในนามพระบรมวงศานุวงศ์ เสนาบดี และข้าราชการทั้งปวง

ส่วนในรัชกาลที่ ๙ ขณะประทับเหนือพระที่นั่งพุดตาน กาญจนสิงหาสน์บนพระราชบัลลังก์นั้น มิได้ทรงพระแสงขรรค์ ชัยศรีดังรัชกาลก่อนๆ แต่มีมหาดเล็กยืนเชิญอยู่เบื้องซ้าย พระราชบัลลังก์ นอกจากนี้ยังมีมหาดเล็กเชิญเครื่องราช กกุธภัณฑ์และพระแสงอัษฎาวุธ ยืนอยู่เบื้องซ้ายและเบื้องขวา พระราชบัลลังก์ที่ประทับด้วย แต่มิได้มีการเชิญธงชัยราชกระบี่ธุชและธงพระครุฑพ่าห์ดังเช่นที่ได้กระทํามาใน รัชกาลก่อน ส่วนถวายพระพรชัยมงคลก็ได้เปลี่ยนแปลง ให้เหมาะสมสอดคล้องกับประเพณีการปกครองของประเทศ ในกาลนั้นด้วย กล่าวคือ นายกรัฐมนตรีเป็นผู้กล่าวคําถวาย พระพรในนามคณะรัฐมนตรีและข้าราชการทั้งฝ่ายทหาร พลเรือน ประธานรัฐสภาเป็นผู้กล่าวคําถวายพระพรในนาม ของประชาชน

อนึ่ง ในตอนเสด็จออกมหาสมาคมนี้ เจ้าหน้าที่ได้นํา พระราชพาหนะอันถือว่าเป็นราชพาหนะแห่งพระจักรพรรดิ คือ พระที่นั่งราเชนทรยาน พระยาช้างต้น พระยาม้าต้น และ เรือพระที่นั่งกิ่ง มาเทียบไว้ที่เกยและที่ท่าซึ่งใช้เป็นที่สําหรับ เสด็จทรงพระราชพาหนะนั้นๆ ด้วย เช่น เสด็จออกมหาสมาคม ที่พระที่นั่งอมรินทรฯ ในพระบรมมหาราชวัง ก็นําพระที่นั่ง ราเชนทรยานและพระยาช้างต้นเทียบเกยพระที่นั่งดุสิตาภิรมย์ นําพระยาม้าต้นยืนที่สนามหน้าพระทวารเทเวศรรักษา และนํา เรือพระที่นั่งกิ่งอันเป็นเรือพระราชพิธีเทียบไว้ ณ ท่าราชวรดิฐ

เมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จออกมหาสมาคม แล้ว ก็ได้เสด็จพระราชดําเนินขึ้นสู่พระที่นั่งไพศาลทักษิณประทับพระที่นั่งภัทรบิฐอีกครั้งหนึ่ง พระบรมวงศานุวงศ์ ฝ่ายในและท้าวนางเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท ท้าววรจันทร์ กราบบังคมทูล ถวาย ๑๒ นางพระกํานัล พระบรมวงศานุวงศ์ ผู้ใหญ่ฝ่ายใน ถวายพระพรชัยมงคลในนามของพระราชวงศ์ท้าวนางและข้าทูลละอองธุลีพระบาทฝ่ายใน พระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวทรงมีกระแสพระราชดํารัสตอบแล้วจึงเสด็จขึ้นเฉลิมพระราชมณเฑียร

ภาพการเสด็จฯ เลียบพระนครในรัชกาลที่ ๔

เสด็จออกเลียบพระนคร

การเลียบพระนครนับเป็นส่วนหนึ่งในพิธีบรมราชาภิเษกเนื่องมาแต่พิธีที่ทําในพระราชฐาน มีการเสด็จออกท้องพระโรงให้ข้าราชการทั้งปวงได้มีโอกาสเข้าเฝ้าทั่วหน้า เมื่อเสร็จการพิธีในพระราชฐานจึงเสด็จออกเลียบพระนครเพื่อให้ประชาราษฎร์ได้โอกาสเฝ้าทั่วหน้ากันด้วย แต่ประเพณีการเลียบพระนครแห่เสด็จพระเจ้าแผ่นดินเป็นกระบวนพยุหยาตราอย่างใหญ่คล้ายกับยกกองทัพ ผิดกับกระบวนแห่เสด็จในการพิธีอื่นทั้งนั้น ชวนให้สันนิษฐานว่าประเพณีเดิมเห็นจะเสด็จเลียบถึงเมืองที่รายรอบมณฑลราชธานี ต้องเสด็จโดยทางบกบ้างทางเรือบ้าง และประทับรอนแรมเป็นระยะไปหลายวันจนกว่าจะรอบมณฑลราชธานี เพื่อบํารุงความ สวามิภักดิ์และให้ประจักษ์พระเดชานุภาพแก่ประชาชนทั้งหลาย

การเลียบพระนครในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ เลียบพระนคร ทางเรือเคยมีแค่ ๒ ครั้ง คือในรัชกาลที่ 9 เมื่อสร้างพระนคร และเครื่องเฉลิมพระราชอิสสริยยศต่างรวมทั้งเรือกระบวนแห่ เสด็จสําเร็จแล้วทําการพระราชพิธีบรมราชาภิเษกเต็มตามตําราเมื่อปีมะเส็ง (ได้ยินว่าเพราะประจวบกับเวลาที่ได้ ซ่อมแซมเรือกระบวน เมื่อตอนปลายรัชกาลที่ ๓) จึงมีการ เลียบพระนครทั้งทางบกและทางเรือ อีกครั้งหนึ่ง เมื่อพระบรม ราชาภิเษกในรัชกาลที่ ๒ และรัชกาลที่ ๓ มีแต่เลียบพระนครทางบก

ภาพการเสด็จฯ เลียบพระนครในรัชกาลที่ ๕

การเสด็จเลียบพระนครในแต่ละครั้ง พระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวเสด็จออก ณ พระที่นั่งดุสิตาภิรมย์ ทรงเครื่อง พระภูษาเขียนทอง ฉลองพระองค์เยียรบับสายรัดพระองค์ประดับเพชร ทรงพระมหาสังวาลนพรัตน์ และพระธํามรงค์เพชรเหน็บพระแสงตรี ฉลองพระองค์ครุยกรองทองชั้นนอก ทรงพระมหาชฎาพระกลีบ เสด็จขึ้นประทับพระที่นั่งพุดตาล เวลาเช้า ๑๐ นาฬิกายิงปืนใหญ่ให้สัญญาณ แล้วเคลื่อน กระบวนพยุหยาตราออกจากพระบรมมหาราชวังไปทางถนนหน้าพระลาน ถนนสนามชัย หยุดกระบวนประทับที่วัดพระเชตุพน

ที่หน้าวัดปลูกโรงไว้เป็นที่รับฝรั่งชาวต่างประเทศ พลเรือเอก เกบเปล แม่ทัพเรืออังกฤษที่เมืองจีน กับนายทหารเรือและ กงสุล แลพ่อค้าฝรั่งต่างประเทศไปคอยเฝ้าอยู่ด้วยกัน ณ ที่นั้น โปรดให้แม่ทัพนายเรืออังกฤษกับกงสุลต่างประเทศเฝ้าที่พลับพลาวัดพระเชตุพน และพระราชทานดอกพิกุลทอง และเงิน ของสําหรับพระราชพิธีบรมราชาภิเษกให้เป็นที่ระลึก ด้วยทั่วกัน เมื่อเสด็จนมัสการพระที่ในพระอุโบสถเสร็จแล้วเคลื่อนกระบวนแห่ไปทางถนนท้ายวัง เลี้ยวเข้าประตูสุนทรทิศา สกัดใต้มาทางท้ายสนม (เจ้าฝ่ายในเสด็จออกทอดพระเนตร แห่ที่โรงทาน) ออกประตูพิทักษ์บวรสกัดเหนือเลี้ยวถนนหน้าพระลานมากลับเข้าประตูวิเศษชัยศรี เสด็จกลับขึ้นเกย พระที่นั่งดุสิตาภิรมย์ เป็นเสร็จการเลียบพระนคร

ภาพหน้าปก นสพ. อเมริกัน ฝรั่งเศส และอังกฤษ ที่เคยลงภาพประกอบข่าว ในงานพระราชพิธีบรมราชาภิเษก รัชกาลที่ ๔ และรัชกาลที่ ๕

อนึ่ง ในการพระราชพิธีบรมราชาภิเษกครั้งที่ ๒ ในรัชกาล ที่ ๕ พ.ศ. ๒๔๑๖ มีการเลียบพระนครทั้งทางบกและทางเรือ

การเสด็จเลียบพระนครนี้เรียกอย่างเป็นทางการว่า การเสด็จฯ เลียบพระนครทางสถลมารค (บก) และทาง ชลมารค (น้ํา) กลายเป็นงานพระราชพิธีอย่างใหญ่ที่คนภายนอกสามารถเข้าเฝ้าชมพระบารมีอย่างทั่วถึง และมักจะ เป็นภาพข่าวเผยแพร่ออกไปในต่างประเทศอยู่เนืองๆ และ เป็นต้นตํารับที่ทําสืบต่อมาในรัชกาลหลังๆ

การที่ชาวต่างประเทศได้รับอนุญาตให้เข้าร่วมในงาน พระราชพิธีทั้ง ๒ ประเภทตั้งแต่ในรัชกาลที่ ๔ นี้เอง ทําให้ภาพจากเหตุการณ์สําคัญถูกบันทึกไว้ และส่งออกไปตีพิมพ์ใน สื่อของชาติตะวันตก เช่นใน อังกฤษและฝรั่งเศสก่อนที่อื่นๆ

ในยุคที่แม้แต่ในสยามประเทศเอง ชาวไทยก็ยังไม่ค่อย ชํานาญการถ่ายรูป และยังไม่ทราบเทคนิคการนําภาพถ่าย มาตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์มาก่อน

หนังสือพิมพ์ของยุโรปจึงมีส่วนช่วยอนุรักษ์และถ่ายทอดภาพถ่ายเก่าอันทรงคุณค่าให้คนรุ่นหลังได้เห็นและภาคภูมิใจ ในเกียรติภูมิของสถาบันพระมหากษัตริย์ไทย อันเป็นที่ยอมรับนับถือในระดับสากลมาช้านาน


บรรณานุกรม
(๑) ประเพณีในพระราชสํานัก, พิมพ์ฉลองพระคุณในงานพระราชทานเพลิงศพ พลตรี หม่อมทวีวงศ์ ถวัลย์ศักดิ์ (ม.ร.ว. เฉลิมลาภ ทวีวงศ์) ๒๕๑๔
(๒) “ความทรงจํา” พระนิพนธ์ ในสมเด็จฯ กรมพระยาดํารงราชานุภาพ ๒๕๐๖

About the Author

Share:
Tags: ฉบับที่ 35 / รัชกาลที่ ๔ / พระราชพิธีบรมราชาภิเษก /

เรื่องราวอีกมากมายที่คุณจะชอบ