Sunday, May 19, 2024
ชื่นชมอดีต บทความแนะนำ

สายใยรักและสายสัมพันธ์ ไทย-รัสเซียในวังปารุสกวัน

สมเด็จฯ เจ้าฟ้าจักรพงษ์ทรงอุ้มพระโอรสพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์

“เจ้าวังปารุสก์ พระองค์ที่ ๒

หม่อมคัทริน ชื่อสกุลจริง เยคาเทรินา “แคทยา” เดสนิทสคายา ใช้ ชีวิตส่วนใหญ่อยู่แต่ภายในตําหนัก ไม่มีโอกาสเข้าเฝ้าพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระบรมราชินีนาถอย่างสะใภ้หลวง เนื่องจากทั้งสองพระองค์มิได้ยอมรับเธอ แต่ก็มิได้พระทัยร้ายถึงขนาดขับไล่ไสส่งหรือยื่นคําขาดให้พระราชโอรสทรงละทิ้งหม่อม

ชีวิตในวังปารุสกวันผ่านไปด้วยความราบรื่น ทูลหม่อมจักรพงษ์เห็นพระทัยหม่อมคัทริน จึงทรงทําทุกอย่างเพื่อให้เธอมีชีวิตอยู่อย่าง เป็นสุขและสะดวกสบายเท่าที่จะทําได้ ผู้ที่ช่วยเป็นกําลังใจสนับสนุนอีกแรงหนึ่งคือ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช (พระบาทสมเด็จ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว) ซึ่งแคทยาให้ความเคารพ และมองพระองค์ท่าน ด้วยความเชื่อมั่นในหลายๆ ด้าน

ชะตาชีวิตของแคทยาดีขึ้นมากในสองปีต่อมา เมื่อพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์ (พระองค์จุลฯ) ประสูติใน พ.ศ. ๒๔๕๐ สามปีก่อนสิ้นรัชกาลที่ ๕

เจ้าชายองค์น้อยมีพระพักตร์เหมือนตุ๊กตาฝรั่ง ผิดแปลกไปจาก พระญาติทางฝ่ายพระบิดาทั้งหมด ทรงสมบูรณ์แข็งแรงน่ารักน่าเอ็นดู เป็นที่รักใคร่ในสมเด็จพระพันปีอย่างมาก เป็น “หลานย่า” โดยตรง องค์แรก และองค์เดียวตลอดพระชนม์ชีพที่ยืนยาวมาไม่กี่ปีหลังใน รัชกาลที่ 5 ไม่ทันจะได้ทอดพระเนตรเห็นพระเจ้าหลานเธอองค์อื่นๆ ที่ประสูติหลังจากนั้น

สมเด็จพระพันปีหลวงโปรดที่จะรับเจ้าชายน้อย ซึ่งขณะนั้นมี พระนามสั้นๆ ว่า “หนู” เข้าไปอยู่ด้วยในพระราชวังที่ประทับเป็นประจํา แทบจะทรงแยกห่างกันไม่ได้ ความสัมพันธ์ระหว่างแม่ผัวกับลูกสะใภ้ ก็ลดความตึงเครียดลงมากเช่นกัน แต่ถึงกระนั้นแคทยาก็ไม่มีโอกาส เข้าเฝ้ารัชกาลที่ ๕ จนสิ้นรัชกาล

หม่อมคัทริน ณ พิษณุโลก พระชายาชาวรัสเซีย ในเครื่องแต่งกายเต็มยศสตรีในราชสำนักสยาม ท่านได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้าชั้นทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษจากรัชกาลที่ ๖ ด้วย

พุทธศักราช ๒๔๕๓ เปลี่ยนแผ่นดินใหม่ สมเด็จฯ เจ้าฟ้าฯ กรมหลวงพิษณุโลกทรงอยู่ในฐานะลําดับที่ ๑ ในการสืบสันตติวงศ์ เนื่องจากพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวยังทรงเป็นโสดมิได้มีรัชทายาท

ในสมัยรัชกาลที่ 5 ฐานะความสําคัญของเจ้าฟ้ากรมหลวง พิษณุโลกยิ่งเพิ่มมากขึ้น ทรงรับพระราชภารกิจทางการทหารมาเต็มมือ ตั้งแต่แรกเริ่ม ด้วยทรงเป็นผู้ช่วยผู้บัญชาการกรมยุทธนาธิการ กระทรวงกลาโหม เป็นผู้บัญชาการโรงเรียนทหารบก เสนาธิการทหารบก เจ้ากรมยุทธศึกษาทหารบก ทรงเป็นผู้บังคับการกรมทหารราบที่ ๑ มหาดเล็กรักษาพระองค์อีกตําแหน่งหนึ่งด้วย

ในขณะที่ทรงรับตําแหน่งเสนาธิการทหารบกอันเป็นตําแหน่ง สําคัญในการรบ ก็ได้ทรงปรับปรุงเสนาธิการให้กว้างขวางเพิ่มขึ้น ทรงริเริ่มจัดตั้งโรงเรียนเสนาธิการ เพื่อให้การศึกษาแก่นายทหารที่จะทําหน้าที่ฝ่ายเสนาธิการบรรจุตามงานในหน้าที่เสนาธิการที่ได้ปรับปรุง ขึ้น นอกจากนั้นยังทรงเรียบเรียงตําราเรื่อง พงศาวดารยุทธศิลปะและ เอกสารอื่นๆ ซึ่งใช้เป็นตําราศึกษาในโรงเรียนเสนาธิการยุคต้น อีกจํานวนมาก สิ่งต่างๆ เหล่านี้ได้นํามาใช้เป็นแนวทางการพัฒนาของ โรงเรียนเสนาธิการสืบจนถึงปัจจุบัน

ความสุขของพระชายา – หม่อมคัทรินหรือแคทยา ดําเนินต่อไป คล้ายเทพนิยายอยู่หลายปี จนกระทั่งมีเหตุการณ์ภายนอกเข้ามากระทบ เธออย่างหนัก เริ่มด้วยการล่มสลายของราชวงศ์โรมานอฟ ที่ทําให้ เจ้านายและขุนนางในรัสเซียต้องหลบลี้หนีภัยการเมืองออกนอกประเทศ ความหวังของแคทยาที่จะได้กลับไปเยี่ยมบ้านเดิมจึงจบสิ้นลงบ้านเกิด เมืองนอนกลายเป็นดินแดนต้องห้ามสําหรับเธอไปเสียแล้ว

สิ่งที่ตามมาอีกคือ สงครามโลกครั้งที่ 9 รัชกาลที่ 5 ตัดสินพระทัย ประกาศสงครามกับฝ่ายเยอรมัน โดยมีเจ้าฟ้าจักรพงษ์เป็นผู้อํานวยการกองทหารอาสาที่ส่งกองกําลังไปร่วมในสมรภูมิที่ยุโรปราว ๑,๕๐๐ นาย

ครอบครัวราชสกุลจักรพงษ์ที่พระตำหนักเทรเดซีในมณฑลคอร์นวอลล์ อังกฤษ ราว พ.ศ. ๒๕๐๓ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์ฉายกับหม่อมเอลิซาเบธและพระธิดาคนเดียว หม่อมราชวงศ์นริศรา จักรพงษ์ในวันคริสต์มาสปีนั้น

“เจ้าวังปารุสก์” พระองค์ที่ ๓

ชีวิตสมรสระหว่างแคทยาและเจ้าฟ้าจักรพงษ์ดําเนินมาถึง ๑๒ ปี ภายใต้ความกดดันที่เพิ่มขึ้นทีละน้อยในช่วงปีหลังๆ สุขภาพของแคทยา เริ่มเสื่อมโทรมลง เธอแท้งติดต่อกัน ๒ ครั้ง ในที่สุดก็ตัดสินใจเดินทาง ไกลเพื่อรักษาสุขภาพกายและใจให้ดีขึ้นด้วยการไปเยี่ยมพี่ชายที่อาศัย อยู่ในปักกิ่ง จากนั้นไปญี่ปุ่น และเดินทางต่อไปจนถึงแคนาดา

ส่วนทางเมืองไทย เมื่อไม่มีแคทยาอยู่ด้วย เจ้าฟ้าจักรพงษ์ทรงมี เวลาว่างพอจะทําความคุ้นเคยกับพระญาติฝ่ายในจากวังอื่นๆ มากขึ้น คือ พระธิดาของกรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ ซึ่งเป็นพระเชษฐา ต่างชนนีกัน ในจํานวนนี้มีหม่อมเจ้าหญิงจากราชสกุลรพีพัฒน์ หม่อมเจ้าชวลิตโอภาส เพิ่งเข้าสู่วัยสาว พระชนม์ ๑๕ เป็นเด็กสาวสวยน่ารัก ร่าเริงเบิกบาน มีเสน่ห์ ขี้เล่น และทันสมัย กลายเป็นเสน่ห์ของหญิงไทยที่จับพระทัยเจ้าฟ้าจักรพงษ์อย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นกับผู้หญิงคนไหน เว้นแต่หม่อมคัทริน

แต่กว่าที่แคทยาจะเดินทางกลับมาสยาม ความรู้สึกของพระองค์ ก็เปลี่ยนเกินกว่าจะถอยกลับไปที่จุดเดิมได้อีกแล้วเรื่องราวความรักระหว่างสาวรัสเซียกับเจ้าฟ้าแห่งสยามจบลง ด้วยการหย่า แคทยาเดินทางออกจากสยามไปโดยไม่ได้อําลาลูกชายวัย ๑๑ ด้วยซ้ํา

เมื่อหม่อมคนแรกจากไปแล้ว เจ้าฟ้าจักรพงษ์ก็ทรงตั้งพระทัยจะอภิเษกสมรสกับหม่อมเจ้าชวลิตโอภาสให้สมพระเกียรติ ทว่าทรงเจอ อุปสรรคใหญ่ขัดขวางอย่างที่คาดไม่ถึง นั่นคือ พระบาทสมเด็จ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวไม่ทรงยินยอมให้มีพิธีอภิเษกสมรส ทรงอ้างว่าไม่สมควร เนื่องจากหม่อมเจ้าชวลิตโอภาสอยู่ในฐานะหลานสาวของเจ้าฟ้าจักรพงษ์

เจ้าฟ้าจักรพงษ์ไม่ยอมแพ้ ทรงหันไปพึ่งสมเด็จพระพันปีหลวง ซึ่ง คราวแรกก็ไม่ทรงเห็นด้วยกับพระราชโอรส แต่เมื่อเจ้าฟ้าจักรพงษ์ อ้อนวอนหนักเข้าก็พระทัยอ่อน ยอมรับที่จะเจรจากับพระเจ้าอยู่หัว พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าฯ ทรงยืนกรานเช่นเดิม สมเด็จ พระพันปีหลวงทรงกริ้ว แต่ก็ไม่อาจทําให้ทรงโอนอ่อนลงได้ ผลสุดท้าย ไม่ใช่เพียงแม่กับลูกชายเท่านั้นที่แตกร้าวกัน หากความสัมพันธ์ ระหว่างพี่ชายกับน้องชายก็ร้าวฉานกันลึกด้วย

ถึงกระนั้นก็ไม่มีสิ่งใดขวางกั้นได้ เจ้าฟ้าจักรพงษ์ทรงรับหม่อมเจ้า ชวลิตโอภาสเป็นพระชายาอย่างเปิดเผย และเป็นที่รับรู้กันว่า ทรงเข้ามาเป็นเจ้าของวังปารุสกวัน

ข้าราชบริพารต่างอยู่ในวังอย่างปกติสุขกับเจ้านายหญิงองค์ใหม่ซึ่งเธอไม่ได้เปลี่ยนแปลงระเบียบแบบแผนใดๆ ในวังให้ยุ่งยาก เคยมี ธรรมเนียมปฏิบัติกันอย่างไรก็อยู่กันต่อไปอย่างนั้น และเธอเข้ากับ พระองค์จุลฯ ซึ่งอายุห่างกันเพียง ๔ ปีได้เหมือนเป็นพี่น้องกันมากกว่า แม่กับลูก

หม่อมเจ้าหญิงชวลิตโอภาส รพีพัฒน์ พระธิดาในพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ พระบิดาแห่งกฎหมายไทย ท่านหญิงชวลิตหรือพระนามเล่นว่า เล็ก แต่ในภาพทรงเซ็นว่า Lit หมายถึง ลิต หรือส่วนหนึ่งของพระนามเต็มทรงเป็นเจ้านายไทยรูปงามที่เก่งและทันสมัย จนทำให้สมเด็จฯ เจ้าฟ้าจักรพงษ์ทรงรักและหลงในปลายพระชนม์ชีพ

ความสนิทเสน่หาที่เจ้าฟ้าจักรพงษ์ทรงมีต่อหม่อมเจ้าชวลิตโอภาส พระชายาที่อ่อนกว่า ๒๐ ปีมากมายแค่ไหน พอจะมีหลักฐานให้เห็น ได้จากพินัยกรรม ทรงมอบทรัพย์สินมรดกทุกอย่างให้หม่อมเจ้าชวลิต โอภาสเพียงผู้เดียว ทรงมอบพระโอรสให้อยู่ในความดูแลของท่านหญิงและจะมีสิทธิ์ในมรดกก็ต่อเมื่อท่านหญิงสิ้นชีพิตักษัยแล้วเท่านั้น

ไม่มีการเอ่ยถึงแคทยา อดีตพระชายาในพินัยกรรม ไม่มีการ แบ่งปันทรัพย์สินใดๆ ให้เธอ นอกจากเงินปีละ ๑,๒๐๐ ปอนด์ ที่ทรง ให้ไปเมื่อหย่าขาดจากกัน ไม่มีการมอบหมายให้พระโอรสอยู่ใน ความดูแลของหม่อมแม่ที่แท้จริง ไม่มีอะไรทั้งสิ้นที่แสดงถึงความ ผูกพันหลงเหลืออยู่ระหว่างพระองค์กับแคทยา

ความรักที่มีพระองค์มีทรงมอบให้หม่อมเจ้าชวลิตโอภาสเพียง องค์เดียว ด้วยความเชื่อมั่นว่าเธอจะดูแลพระโอรสได้อย่างดี ส่วน แคทยาเมื่อเธอจากสยามไปก็เหมือนตายไปจากพระองค์ แล้วก็ตาย จากกันจริงๆ ทั้งสองไม่มีโอกาสได้กลับมาพบหน้ากันอีกเลย

พ.ศ. ๒๔๖๓ สมเด็จฯ เจ้าฟ้าจักรพงษ์ทิวงคตด้วยโรคไข้หวัดใหญ่ในระหว่างทางที่เสด็จไปสิงคโปร์และทิวงคตที่นั่นท่ามกลางพระชายา และพระโอรสที่อยู่ข้างเตียงที่ประทับด้วยพระชนม์เพียง ๓๗ พรรษา เท่านั้น หม่อมเจ้าชวลิตโอภาสทรงเป็นม่ายเมื่อพระชนม์ได้ ๑๗ ส่วน พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์ กําพร้าพ่อเมื่อพระชมน์ได้ ๑๓ พรรษา

หนึ่งปีต่อมา เมื่อหม่อมเจ้าชวลิตโอภาสจะเสกสมรสใหม่กับ หม่อมเจ้า อมรสมานลักษณ์ กิติยากร (พระโอรสในพระองค์เจ้า กิติยากรวรลักษณ์ กรมพระจันทบุรีนฤนาถ) รัชกาลที่ 5 ก็ทรงเห็น ชอบที่จะให้เธอคืนมรดกกลับไปให้พระองค์จุลฯ เสียก่อน จึง พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้เสกสมรสได้

หลังจากนั้น พระเจ้าอยู่หัวในฐานะลุงของพระองค์จุลฯ ก็ส่งให้ไป ศึกษาต่อที่อังกฤษ เพื่อจะไปเรียนที่โรงเรียนนายร้อยแซนด์เฮิร์สต์ และไม่ทรงมีพระบรมราชนุญาตให้แคทยาไปอยู่อังกฤษเพื่อดูแลโอรส แต่ทรงยอมให้เธอไปเยี่ยมได้ในช่วงปิดเทอมภาคฤดูร้อน

พระองค์จุลฯ ทรงเข้าเรียนที่โรงเรียนแฮร์โรว์ ซึ่งเป็นโรงเรียน ประจําของลูกผู้ดีมีตระกูลอีกแห่งหนึ่งนอกเหนือจากอีตัน แต่ว่าไม่ได้หม่อมเจ้าหญิงชวลิตโอภาส รพีพัฒน์ พระธิดาในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ พระบิดาแห่งกฎหมายไทย ท่านหญิงชวลิตหรือพระนาม เล่นว่า เล็ก แต่ในภาพทรงเซ็นว่า Lit หมายถึง ลิต หรือส่วนหนึ่งของพระนามเต็ม ทรงเป็นเจ้านายไทยรูปงามที่เก่งและทันสมัย จนทําให้สมเด็จฯ เจ้าฟ้าจักรพงษ์ทรงรัก และหลงในปลายพระชนม์ชีพทรงเข้าเรียนในโรงเรียนทหารตามพระราชประสงค์ของทูลกระหม่อมลุง หากแต่เบนเข็มไปเรียนวิชาประวัติศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์และทรงเรียนจบได้เกียรตินิยมอย่างน่าชื่นชม

ที่อังกฤษ พระองค์จุลฯ พบหญิงสาวสวยลูกผู้ดีชื่อ เอลิซาเบธ ฮันเตอร์ หรือเรียกชื่อเล่นว่า “ลิสบา” เธอเป็นเพื่อนสนิทของหม่อมซีริล เฮย์คอค พระชายาคนแรกในพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าพีรพงษ์ภาณุเดช (พระองค์พระ) หลังจากรักกันยาวนานหลายปี ในที่สุดพระองค์จุลฯ ก็เสกสมรสกับหม่อมลิสบา และทรงรอถึง ๑๘ ปีกว่าจะได้ธิดาคนเดียว คือ ม.ร.ว. นริศรา จักรพงษ์

พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์ ที่ตําหนักในอังกฤษ ภาพนี้ถ่ายโดยพระวรวงศ์เธอ พระองค์พีระพงศ์ภาณุเดช นักแข่งรถชาวไทยชื่อดังในยุคนั้น

สวนสวรรค์หลังการเสด็จทิวงคต

ภายหลัง พ.ศ. ๒๔๖๓ ที่เจ้าฟ้าจักรพงษ์ทิวงคต พระบาทสมเด็จ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวได้โปรดเกล้าฯ ให้ใช้วังปารุสกวันเป็นที่รับรอง แขกเมืองที่สําคัญๆ หลายครั้ง รวมทั้งได้ซ่อมแซมวังปารุสกวันเพื่อ ประกอบพิธีพระราชทานพระสุพรรณบัฏสถาปนาพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าลักษมีลาวัณขึ้นเป็นพระนางเธอลักษมีลาวัณ (พระนามเดิม หม่อมเจ้าหญิงวรรณพิมล วรวรรณ พระธิดาในพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวรวรรณากร กรมพระนราธิปประพันธ์พงษ์) เมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๔

ระหว่างปี ๒๔๗๐-๒๔๗๕ ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จ พระปรมินทรมหาประชาธิปก พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้โปรดเกล้าฯ ให้ซ่อมพระตําหนักปรับปรุงสวนบริเวณวังปารุสกวัน และจัดซื้อ เครื่องเรือน รวมทั้งพรมที่ใช้ปูพระตําหนักทุกห้องจากต่างประเทศ เพื่อให้เป็นที่ประทับของดยุค เดอ บราบองต์ มกุฎราชกุมารเบลเยียม และพระชายา และเป็นที่รับรอง ฯพณฯ ปอล เรโนด์ เสนาบดีว่าการ เมืองขึ้นของฝรั่งเศส

กระทั่งเมื่อคณะราษฎรได้ทําการเปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อ วันที่ ๒๔ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๕ แล้ว วังปารุสกวันได้ถูกใช้เป็นสถานที่ ราชการและเป็นที่พักของบุคคลสําคัญตลอดมา อาทิ พระยามโนปกรณ์ นิติธาดา-อดีตประธานกรรมการราษฎร นายพันเอก พระยาพหล พลพยุหเสนา อดีตนายกรัฐมนตรี เป็นต้น

ปัจจุบันพระตําหนักสวนปารุกสกวันเป็นที่ทําการของสํานัก ข่าวกรองแห่งชาติ ส่วนพระตําหนักสวนจิตรลดา เป็นที่ทําการของ กองบัญชาการตํารวจนครบาลและพิพิธภัณฑ์ตํารวจ วังปารุสกวัน

ย้อนความสัมพันธ์ไทย-รัสเซีย

ก่อนเรื่องราวความรักระหว่างแคทยา สาวรัสเซียผู้มีพื้นเพจาก เมืองอีฟในยูเครน กับเจ้าฟ้าแห่งสยาม จะก่อเกิดขึ้น ประเทศสยามและ รัสเซียเคยเชื่อมโยงสัมพันธไมตรีกันมา นับจากคราวที่พระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ได้เสด็จประพาสรัสเซียระหว่าง วันที่ ๓-๑๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๔๐ ซึ่งนับเป็นจุดเริ่มต้นของ ความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างกัน โดยความสัมพันธ์ระหว่าง
พระราชวงศ์มีความใกล้ชิด

ครั้งนั้นรัฐบาลสยามได้แต่งตั้งราชทูตประจํากรุงเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก คนแรกคือ พระยาสุริยานุวัตร (เกิด บุนนาค) ซึ่งเป็นอัครราชทูตผู้มี อํานาจเต็มประจํากรุงปารีส ให้มาเป็นอัครราชทูตผู้มีอํานาจเต็มประจํา ประเทศรัสเซีย โดยมีถิ่นพํานักอยู่ในกรุงปารีส เมื่อวันที่ ๑๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๔๐-๒๔๔๒

และตั้งแต่วันที่ ๑๒ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๒ รัฐบาลสยามได้ส่ง พระยามหิบาลบริรักษ์ (สวัสดิ์ ภูมิรัตน์) ไปเป็นราชทูตคนที่ ๒ ประจํา รัสเซียและเป็นราชทูตคนแรกของไทยที่มีถิ่นที่พํานักในรัสเซีย โดยมี ฐานะเป็นผู้แทนส่วนพระองค์ประจําราชสํานัก ซึ่งเป็นกุศโลบายของ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ต้องการให้ความสัมพันธ์ ระหว่างสองรัฐเป็นความสัมพันธ์พิเศษระหว่างราชวงศ์

ขณะเดียวกันก็เป็นพระราชประสงค์ของพระองค์ที่ต้องการให้ พระยามหิบาลบริรักษ์ ทําหน้าที่พระอภิบาลสมเด็จฯ เจ้าฟ้าจักรพงษ์ ระหว่างที่ทรงศึกษาอยู่ที่โรงเรียนนายร้อยทหารมหาดเล็ก Corps des Pages และทรงประทับอยู่ในพระราชวังฤดูหนาวในฐานะพระโอรส บุญธรรมของซาร์นิโคลัสที่ ๒ เป็นประการสําคัญด้วย

งานนิทรรศการ “จักรพงษ์นิทรรศน์”

ในวาระครบรอบความสัมพันธ์ไทย-รัสเซีย ๑๒๐ ปี สํานักพิมพ์ริเวอร์บุ๊คส์จะได้จัดนิทรรศการเรื่อง จักรพงษ์ นิทรรศน์ ณ พระตําหนักจิตรลดา ภายในพิพิธภัณฑ์ตํารวจ ระหว่างวันที่ ๒๓ กรกฎาคม ถึงสิ้นเดือนกันยายน ศกนี้ โดยในนิทรรศการนี้จะได้จัด แสดงสิ่งของ เอกสาร ภาพถ่าย และสรรพสิ่งที่เกี่ยวเนื่องกับสมเด็จฯ เจ้าฟ้าจักรพงษ์พร้อมพระประวัติ พร้อมทั้งเปิดตัวหนังสือเรื่องถึงลูกชายเล็ก อันเป็นหนังสือรวมพระราชหัตถเลขาและลายพระหัตถ์ ของรัชกาลที่ ๕ และสมเด็จฯ เจ้าฟ้าจักรพงษ์ฯ ที่มีไปมาระหว่างที่ ทรงศึกษาในรัสเซียด้วย โดยหนังสือนี้จะมีวางจําหน่ายในราคาพิเศษ ที่นิทรรศการนี้

รายละเอียดโปรดติดตามใน facebook ของ River Books ได้ หรือ www.riverbooksbk.com

อ้างอิง: ข้อมูลจาก คุณไพศาลย์ เปี่ยมเมตตาวัฒน์ กรรมการผู้จัดการสํานักพิมพ์ ริเวอร์ บุ๊คส์ ประวัติวังปารุสกวัน สํานักข่าวกรองแห่งชาติ, วังปารุสกวัน สถาบันพระปกเกล้า มานิดา สารพัฒน์-เรียบเรียง, เจ้าวังปารุสก์ เรือนไทย วิชาการ.คอม วังปารุสกวัน วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับรัสเซีย และ CIS/Royal Thai Embassy Moscow, เกิดวังปารุสก์ พระนิพนธ์ในพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์/บริษัท สํานักพิมพ์ริเวอร์ บุ๊คส์ จํากัด, ประชุมประวัติพระยา เรือนไทย วิชาการ.คอม ภาพทั้งหมดสงวนลิขสิทธิ์โดยสํานักพิมพ์ริเวอร์บุ๊คส์

About the Author

Share:
Tags: รัสเซีย / พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า เจ้าอยู่หัว / สมเด็จฯ เจ้าฟ้าจักรพงษ์ / วังปารุสกวัน / หม่อมคัทริน /

เรื่องราวอีกมากมายที่คุณจะชอบ