Monday, May 20, 2024
ศิลปะ ชื่นชมอดีต บทความแนะนำ

งามสง่าพญาครุฑ พญาแห่งนก

นิตยสารอนุรักษ์ ฉบับที่ 21
เรื่อง / ภาพ : ธีรภาพ โลหิตกุล

งามสง่าพญาครุฑ

พญาแห่งนก

ครุฑ หรือพญาครุฑ ในคติความเชื่อของชาวศาสนาพราหมณ์ – ฮินดู นับเป็นสัตว์กึ่งเทพ ที่ทรงอิทธิพลข้ามศาสนา เพราะได้รับการยอมรับนับถือจากชาวพุทธจํานวนไม่น้อยครุฑจึงปรากฏให้เห็นในงานพุทธศิลป์อยู่เนืองๆ โดยเฉพาะที่หน้าบันพระอุโบสถหรือพระวิหารของวัดวาอารามหลายแห่ง

พญาครุฑที่หน้าบันวัดหลังศาลประสิทธิ์ อําเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาคร ถึงแม้จะโดดเด่น เพียงใด แต่ก็อยู่ในตําแหน่งรองลงมาจากพระพุทธรูป

คัมภีร์ “ครุฑปุราณะ” ของชาวฮินดู ระบุ ว่าครุฑเป็นพญาแห่งนก และยังเป็นเทพ พาหนะของวิษณุเทพ หรือพระนารายณ์ ครุฑ มีรูปกายเป็นครึ่งคนครึ่งนก และได้รับพรให้ ชีวิตเป็นอมตะ ไม่มีอาวุธใดทําลายได้ แม้ กระทั่งสายฟ้าของพระอินทร์ก็ทําอันตราย เพียงให้ขนของครุฑหลุดร่วงไปเพียงเส้นหนึ่ง เท่านั้น ครุฑจึงมีอีกชื่อที่เรียกกันว่า “สุบรรณ” หมายถึง “ขนวิเศษ”

ครุฑมีอานุภาพและพลังมหาศาลแข็งแรง บินได้รวดเร็ว ทั้งยังมีปัญญาเฉียบ แหลม ฉลาด อ่อนน้อม ถ่อมตน และมีสัมมา คารวะ ในตํานานของชาวฮินดูยังเล่าว่าพญาครุฑเป็นพี่น้องกับพญานาค แต่เกิดทะเลาะ เบาะแว้งกันรุนแรงจนกลายเป็นศัตรูกัน

สังคมไทยในสมัยกรุงศรีอยุธยาตั้งแต่ รัชสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ (พ.ศ. ๑๙๗๔ – ๒๓๐๑) รับคติความเชื่อในลัทธิ “เทวราชา” ของอินเดียผ่านทางราชสํานัก กัมพูชา ที่มีความเชื่อว่าพระมหากษัตริย์ทรง เป็น “สมมุติเทพ” เป็น “นารายณ์อวตาร” หรือการแบ่งภาคมาเกิดของพระนารายณ์

หน้าบันประดับภาพนารายณ์ทรงสุบรรณ ที่พระอุโบสถวัดอินทรวิหาร

จึงมีแบบแผนประเพณีในการสร้างรูป “ครุฑพ่าห์” หรือพระครุฑพ่าห์ หมายถึงครุฑ ซึ่งเป็นพาหนะในท่วงท่ากางปีก ใช้เป็นสัญลักษณ์แห่งพระราชบัลลังก์และตราประจําแผ่นดินตั้งแต่กรุงศรีอยุธยาสืบต่อ โดยเฉพาะตราประทับบนหัวจดหมายราชการ เรียก “ตราครุฑ” ด้วยเหตุที่พระนารายณ์ทรงมี พญาครุฑเป็นพระพาหนะ

ตราบจนวันนี้ ตราราชการไทยยังเป็นรูป ครุฑ เหนือรถพระที่นั่งยังประดับธงครุฑพ่าห์ และเมื่อครั้งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรง ขึ้นครองสิริราชสมบัติเป็นปีที่ ๕๐ หรือ ปีกาญจนาภิเษก พ.ศ. ๒๕๓๙ รัฐบาลและ ประชาชนไทยก็พร้อมใจกันสร้างเรือพระที่นั่ง นารายณ์ทรงสุบรรณ รัชกาลที่ ๙ น้อมเกล้าฯ ถวายแด่พระองค์ในการพระราชพิธีพยุหยาตราชลมารค

พญาครุฑประดับหน้าบันพระอุโบสถ วัดกลางมิ่งเมือง อําเภอเมือง จังหวัดร้อยเอ็ด
ปูนปั้นรูปนารายณ์ทรงสุบรรณ หรือพระนารายณ์ ทรงครุฑ ประดับหน้าบันพระอุโบสถหลังเก่า อายุครบหนึ่งศตวรรษในปี ๒๕๕๙ ณ วัดโพธิ์พระใน อําเภอเมือง จังหวัดเพชรบุรี
พญาครุฑ ที่ปราสาทสัจธรรม จังหวัดชลบุรี
ประติมากรรมจําหลักไม้ ภาพนารายณ์ทรงสุบรรณ ศิลปะบาหลีจัดแสดงที่เมืองไม้ จังหวัดนครปฐม
ประติมากรรมหล่อโลหะ ลวดลายโปร่งรูปครุฑแตรงอน ออกแบบโดยศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี ประดับประตูหน้าที่ทําการไปรษณีย์กลาง กทม.
พญาครุฑประดับอาคารไปรษณีย์กลาง กทม. ออกแบบโดยศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี

ทั้งนี้ มีประติมากรรมรูปพญาครุฑอัน งามสง่าอีกชุดหนึ่งประดับโดดเด่นบนจุด สูงสุดของอาคารไปรษณีย์กลาง บางรัก เป็น ผลงานรังสรรค์ชิ้นสําคัญของศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี กับคณะศิษย์แผนกช่างปั้น ของท่าน

อาคารไปรษณีย์กลางอายุร่วม ๘๐ ปี สร้างด้วยศิลปะสถาปัตยกรรมตะวันตกในยุค Neo-Classicism ผสม Functionalism เน้น ความเรียบง่าย ตรงไปตรงมา ลดทอนการประดับประดา ด้วยเหตุนี้ ปูนปั้นรูปพญาครุฑ โดยอาจารย์ฝรั่ง (ศ. ศิลป์ พีระศรี) จึงกลายเป็นจุดเด่นที่สร้างคุณค่าทางศิลปะให้อาคาร ประวัติศาสตร์หลังนี้ยิ่งนัก

ประติมากรรมจําหลักไม้ ภาพนารายณ์ทรงสุบรรณ ภายในปราสาทสัจธรรม จังหวัดชลบุรี

ในฐานะที่พญาครุฑเป็นพระพาหนะทรง ของพระนารายณ์ เทพผู้ปกป้องคุ้มครองโลก การประดับพญาครุฑที่ตัวอาคารนอกจากมี นัยว่าการไปรษณีย์สยาม รวดเร็ว ว่องไวดั่ง พญาครุฑแล้ว ยังหมายถึงการมีสิ่งศักดิ์สิทธิ์ คุ้มครองอาคาร ดังปรากฏคําร่ําลือในสมัย สงครามโลกครั้งที่สองว่า ไปรษณีย์กลาง บางรัก รอดพ้นจากการถูกโจมตีโดยกองทัพ สัมพันธมิตรเพราะมีพญาครุฑปกป้องไว้

ตัวอาคารสร้างด้วยศิลปะตะวันตก แต่ ศิลปกรรมประดับอาคารเป็นคติในศาสนาฮินดู ดังนั้น อาคารไปรษณีย์กลางจึงถือเป็น มรดกล้ําเลอค่าของสังคมไทย และเป็น ประจักษ์พยานความเป็น “พหุวัฒนธรรม”หรือการมีวัฒนธรรมหลากหลายมาผสม ผสานกันของสังคมไทยและสังคมอาเซียนมาช้านาน

About the Author

Share:
Tags: นก / ครุฑ / วัด ประเพณี วัฒนธรรม การละเล่น / ฉบับที่ 21 / พญาครุฑ / ประติมากรรม /

เรื่องราวอีกมากมายที่คุณจะชอบ