Sunday, May 19, 2024
พระเครื่อง ชื่นชมอดีต

พระนางพญา พิมพ์เขาโค้ง วัดนางพญา พิษณุโลก

ตอนที่ 1 – นิตยสารอนุรักษ์ ฉบับที่ปฐมฤกษ์ 23 ตุลาคม 2556 คอลัมน์ พระสวย เรื่อง/ภาพ: คนชอบ (พระ) สวย

เพื่อเทิดพระเกียรติ พระพุทธเจ้าหลวง รัชกาลที่ 5 ซึ่งได้เสด็จ ประพาสหัวเมืองพิษณุโลก เมื่อปีพุทธศักราช 2441 อันเป็นปีที่พระนางพญาได้อุบัติขึ้น ณ วัดนางพญา พิษณุโลก พระสวยที่อัญเชิญมาเป็นปฐมฤกษ์

องค์แรก ร่ำลือเป็นองค์ตำนานวงการพระ มาหลายสิบปีแล้ว เพราะเป็นพระนางพญาที่มี ประวัติความเป็นมาพิเศษกว่าทุกองค์ ตรงไม่ เคยบรรจุกรุ และไม่เคยผ่านการใช้ได้สัมผัส มาก่อนเลย จึงเป็นพระที่สวยหมดจด

พระนางพญาเข่าโค้ง องค์กำนันวิรัตน์
พระนางพญาเข่าโค้ง องค์คุณสุวิช

” พระองค์นี้เดิมเป็นของเซียนพระชื่อ คุณ สำราญ ซึ่ง จากการบอกเล่าต่อกันว่ามีผู้พบพระองค์นี้ในช่วงบูรณะโบสถ์เก่าวัดนางพญา และจุดที่พบพระคือ พบบนขื่อใต้เพดานโบสถ์ ในครั้งนั้นบรรดาเซียนพระหลายๆคนต่างก็งงกัน มากกับผิวพระซึ่งสะอาดหมดจดไม่มีคราบ ขี้กรุเลย จะมีก็แต่คราบฝุ่นเก่าจากฝ้าใต้เพดาน โบสถ์ จากนั้นก็ตกเป็นสมบัติของกำนันวิรัตน์ ภัทรประสิทธิ์ ในราคาสี่พันบาท ซึ่งถือว่าแพง มากสำหรับราคาพระนางพญาเมื่อเกือบห้าสิบปี ที่แล้ว

ในช่วงปลายปี พ.ศ. 2519 ผมเริ่มสนใจ สะสมพระเครื่องเบญจภาคีอย่างจริงจัง และได้ ต้ังใจจะบูชาพระไม่มากองค์ แต่ขอให้เป็นพระที่ ‘สวย’ ทั้งหมด จึงได้เพียรพยายามที่จะสืบเสาะ หาข้อมูลพระสวยว่าอยู่กับใครบ้าง ผมเดินเข้า ออกสนามพระทั้งสองสนามในทุกๆ โอกาสที่มี ผมคบและนับถือบรรดาเซียนพระอาวุโสทุกคน เสมือนเป็นอาจารย์ จึงโชคดีได้ข้อมูลมากมาย เกี่ยวกับพระสวยๆ ในยุคนั้น และเมื่อพูดถึง พระนางพญาเข่าโค้งที่ค้นพบในวงการก็เป็น เอกฉันท์ว่า พระนางพญาของกำนันวิรัตน์ ซึ่งประกวดชนะที่หนึ่งที่จังหวัดพิษณุโลกน่าจะสวยที่สุด ในปี พ.ศ. 2521 จึงได้ตัดสินใจชวน เฮียเถ้า (คุณวิโรจน์ ใบประเสริฐ) และน้องชาย ชื่อจิตติ เดินทางไปจังหวัดพิษณุโลก เพื่อขอดู พระโดยมิได้นัดหมายกับเจ้าของพระเลย และ ก็โชคดีที่สุดเพราะในบ่ายวันนั้นก็ได้รับความ เมตตากรุณาจากกำนันวิรัตน์ ภัทรประสิทธิ์ ผมจำได้ว่าต้องนั่งเรือชาวบ้านข้ามฟากเพื่อไปดูพระ น้ำก็เชี่ยว เราก็ว่ายน้ำไม่เป็น แต่เสี่ยงแค่ไหนก็ยอมเพื่อได้เห็นพระ

นาทีที่ได้เห็นพระนางพญาองค์นี้คร้ังแรก ผมมีอาการเหมือนถูกรถสิบล้อชนจังๆ ลืมเรื่อง อื่นทุกเรื่องในสมองและหมกมุ่นอยู่เรื่องเดียว ว่าทำอย่างไรจึงจะได้เป็นเจ้าของพระนางพญา เข่าโค้งองค์นี้ หลังจากน้ันก็พยายาม ‘เทียวไล้ เทียวขื่อ’ กับเจ้าของพระมาโดยตลอด แต่ก็ยัง ไม่มีคำตอบ

ต่อมาในช่วงปี พ.ศ. 2536 หลังเลิกการ ประชุมคร้ังสำคัญเกี่ยวกับปัญหาความวิกฤติ แล้งน้ำ เหตุการณ์ที่ผมไม่ได้คาดฝันก็เกิดขึ้น เมื่อหนึ่งในกรรมการของที่ประชุมคือ คุณสุวิช ฟูตระกูล (ตำแหน่งในขณะน้ันคือ ผู้ว่าการการ ประปานครหลวง) เดินเข้ามาหาผมด้วยสายตาที่เป็นมิตร แล้วเอ่ยปากถามผมว่า ดูพระนางพญา เป็นหรือไม่ ผมก็ตอบว่าพอดูได้ครับ ความรู้สึก ในขณะน้ันก็คิดว่าคงเป็นพระใหม่ เพราะในวงการไม่เคยมีใครได้รู้ถึงพระนางพญาเข่าโค้ง องค์ของคุณสุวิชเลย เรียกว่าเป็นพระวงนอก

แต่เมื่อได้ส่องดูไม่ถึง 30 วินาที ก็ตกใจ และมีอาการเหมือนถูกรถสิบล้อชนอีกครั้งหนึ่ง อย่างแรง เพราะเล่นพระมาสิบเจ็ดปี ยังขาดอยู่ ก็แต่พระนางพญาเข่าโค้ง และองค์นี้เป็นพระ ดูง่ายและคม ชัด ลึก สุดพิมพ์ และดันมาพบอยู่กับเจ้าของพระที่เงินไม่มีความหมาย พอจะเห็นแสงสว่างก็ตรงคำพูดสุดท้ายของ คุณสุวิชที่เอ่ยว่า ผมเป็นเพื่อนรักกับท่านอธิบดี กรมชลประทาน ท่านรุ่งเรือง จุลชาติ ซึ่งท่าน รุ่งเรืองก็เป็นผู้ร่วมงานที่ใกล้ชิดกับตัวผมในขณะ น้ัน ทันทีในบ่ายวันเดียวกันนั้น ผมก็ได้ขอร้อง ให้ท่านรุ่งเรือง เจรจาหาทุกวิถีทางที่ไม่ใช่การ ‘หักคอ’ และต้องถูกต้องยุติธรรม และต้องขอถือโอกาสนี้ขอบพระคุณท่านรุ่งเรืองอีกคร้ังหนึ่ง ที่ได้ใช้มิตรภาพที่แน่นแฟ้นของท่านกับเจ้าของพระเป็นข้อต่อรอง ซึ่งคุณสุวิชก็ได้เสนอว่า หากจะแลกกัน ผมก็ขอพระที่ผมยังไม่มี คือ พระสมเด็จ‘วัดระฆัง พิมพ์ใหญ่’ ในตอนนั้นในสมอง ผมไม่ได้คิดเรื่องได้เปรียบเสียเปรียบเลย และแล้วก็โชคดีจบลงแบบแฮปปี้เอ็นดิ้งทั้งสองฝ่าย

กลับมาถึงบ้านก็เหมือนคนเสียสติ มานั่ง จ้องพระแล้วยิ้มอยู่คนเดียวเป็นชั่วโมงๆ ลืมกิน ข้าว ภรรยาผมเดินผ่านมาดูหลายรอบแล้วก็ เอ่ยปากพูดว่า “อธิษฐานขอท่านสิ คุณยังอยาก ได้อีกองค์ที่พิษณุโลกมาเข้าคู่ไม่ใช่หรอ” ผมก็ก้มลงกราบอธิษฐานขอทันที

และแล้วผมก็ต้องเชื่อจริงๆ ว่า สิ่งศักดิ์สิทธิ์มีจริง เพราะในปีเดียวกันนั้น กำนันวิรัตน์ก็ตอบรับการพบกัน เพื่อกินข้าวในจังหวัดพิษณุโลก หลังกินข้าวเสร็จ ก็กลับมานั่งคุยกันต่อ สัญญาณดีๆ ก็คือ ตลอดเวลาที่คุยกันในวันนั้น ทั้งกำนันวิรัตน์ และภรรยาคุณวิไลลักษณ์ มีแววตาที่เป็นมิตร และเหมือนกำลังร่วมกันตัดสินใจคร้ังใหญ่ ส่วนผมก็พยายามข่มบังคับจิตใจตัวเองไม่ให้ คาดหวังมากนัก เพราะกลัวจะอกหักอีกครั้ง

ในที่สุดโชคก็เข้าข้างผมอีกคร้ังหนึ่ง เมื่อ กำนันวิรัตน์มองหน้าภรรยาแล้วหันมาพูดกับผม ว่า “เราสองคนเชื่อแล้วว่าคุณหลงรักพระองค์นี้ จริงๆ และเชื่อว่าหลงรักมากกว่าเราด้วย” แล้วก็ลุกขึ้นเดินไปห้องพระ จุดธูปหนึ่งกำมือ บอกกล่าวพระนางพญาเข่าโค้งก่อนมอบให้ผม เหตุการณ์ท้ังหมดนี้ยังคงอยู่ในความทรงจำ ของผม และจะอยู่ตลอดไป ผมและครอบครัว ยังคงระลึกถึงเมตตาจิตที่เจ้าของพระเดิมมีต่อ ผมและครอบครัว และก็ยังระลึกเสมอว่า เบื้องหลังความสำเร็จท้ังหลายก็คือ ข้อมูลวิชา ความรู้ คำแนะนำที่ได้รับจากบรรดาเซียนพระ อาวุโสทุกท่านในอดีต และขอกราบขอบพระคุณ ทุกท่านมา ณ โอกาสนี้ด้วย และท้ายที่สุดนี้ ผมต้องขอขอบคุณ นิตยสารอนุรักษ์ ที่ได้ให้โอกาสผมมีส่วนร่วมในการอนรุักษ์ประวัติศาสตร์ตอนหนึ่งของวงการพระเครื่อง”

ตอนที่ 1 – นิตยสารอนุรักษ์ ฉบับที่ปฐมฤกษ์ 23 ตุลาคม 2556 คอลัมน์ พระสวย เรื่อง/ภาพ: คนชอบ (พระ) สวย

รูปภาพและเนื้อหาทั้งหมดสงวนสิทธิ์ตามกฎหมาย การนำไปใช้ตีพิมพ์ อ้างอิง เผยแพร่ซ้ำ ต้องได้รับการยินยอมเป็นลายลักษณ์อักษร โดย บริษัท สปิริต อาร์ท 2011 จำกัด copyright @ spiritart2011 co.ltd

About the Author

Share:
Tags: นิตยสารอนุรักษ์ / อนุรักษ์ / anurakmagazine / พระนางพญา / พิมพ์เขาโค้ง / วัดนางพญา / พิษณุโลก /

เรื่องราวอีกมากมายที่คุณจะชอบ