Sunday, May 19, 2024
สัมภาษณ์ บทความแนะนำ

79 ปี การเดินทางของ “เจ้าชายน้อย” วรรณกรรมระดับโลกกับการอนุรักษ์ภาษาถิ่นไทย

นิตยสารอนุรักษ์ ฉบับที่ 62
เรื่อง: อาภาวัลย์ ลดาวัลย์
ภาพ: ฐิติวัฒน์ ริ้วเหลือง

วรรณกรรมเยาวชนเลื่องชื่อที่เขียนจากปลายปากกา

อ็องตวน เดอ แซ็งแตกซูว์เปรี นักบินชาวฝรั่งเศส

จากประสบการณ์ มิตรภาพต่างถิ่น

ที่ทำให้เห็นหัวใจของการเป็นมนุษย์

ย้ำเตือนว่า “จินตนาการ” นั้นสำคัญเสมอ

“ขุนน้อย” แปลด้วย ภาษาเขมรถิ่นไทย

ไม่แปลกใจที่ “เจ้าชายน้อย” วรรณกรรมเยาวชนที่พิมพ์ครั้งแรกเมื่อปี 1943 ในนิวยอร์ค มีการแปลนับหลายร้อยภาษา (มากกว่า 524 ภาษาทั่วโลก*) จนขึ้นแท่น อันดับสองของของโลก รองจากคัมภีร์ไบเบิ้ลที่แปลไปกว่า 3,000 กว่าเวอร์ชั่น

สำหรับการเดินทางของ เจ้าชายน้อย ในประเทศไทยนั้น พิมพ์ครั้งแรกเมื่อปี 1969 แปลโดย อำพรรณ โอตระกูล ล่าสุดแปลเป็นภาษาเขมรถิ่นไทย แล้วทำไมต้องแปลภาษาถิ่นในเมื่ออ่านภาษาไทยกลางๆก็ได้

คุณ สุพจน์ โล่ห์คุณสมบัติ นักเขียน นักเดินทาง และนักสะสมหนังสือเจ้าชายน้อย หนึ่งในผู้ริเริ่มโครงการแปลภาษาถิ่นไทยที่เห็นความสำคัญของการอนุรักษ์การอ่าน มอบโอกาสให้กับผู้คนต่างภาษาได้เข้าถึงวรรณกรรมระดับโลก และส่งเสริมสนใจอนุรักษ์ภาษาถิ่นไทย เอาเป็นว่าคนที่อ่านภาษาไทยไม่แตกฉานย่อมได้อรรถรสเพิ่มในภาษาที่ตนถนัด ส่วนคนที่อยากหัดเรียนภาษาถิ่น จะมีหนังสืออ่านสบายอีกเล่ม ที่วางไม่ลง ส่วนนักสะสมนั้นได้สนุกในการตามหาเวอร์ชั่นต่อไป

สุพจน์ โล่ห์คุณสมบัติ ผู้ริเริ่มโครงการแปลภาษาถิ่นไทย

นอกจากจะรับการสนับสนุนจาก Jean-Marc  ผู้ก่อตั้ง Jean-Marc Probst pour le Petit Prince แล้ว คุณสุพจน์ยังตามหานักแปลที่เชี่ยวชาญภาษาถิ่นอย่าง ผศ. วิลักษณ์ ศรีป่าซาง และดิเรก อินจันทร์เพื่อแปลภาษาล้านนา (ปี 2018) และ อัษฎางค์ ชมดี และ ดร. ดิเรก หงษ์ทอง แปลเวอร์ชั่นภาษาเขมรถิ่นไทย (ปี 2022)

นอกจากนี้ยังมีการแปลภาษาปกากะญอ (ปี 2019) ภาษามลายู (ปี 2020) ภาษายาวี (ปี 2020) ส่วนพิพิธภัณฑ์ธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรตินั้นจัดทำฉบับที่ภาษาถิ่นสุโขทัย-ลายสือไท (ปี 2020) อีกด้วย

ทำไม เจ้าชายน้อย ถึงน่าอ่าน

หลายคนถูกบังคับให้อ่านในวิชาภาษาฝรั่งเศส บางคนชอบตัวละครดูน่ารัก สอนให้มองได้หลายมุม แต่ละคนล้วนหมุนรอบตนเอง

สำหรับคุณ สุพจน์ โล่ห์คุณสมบัติ เขารู้สึกว่าทุกคนมีความเป็นเจ้าชายน้อยอยู่ในตัวเอง ทั้งเรื่องความรัก มิตรภาพ

สำหรับผู้เขียน อ่านเจ้าชายน้อยกับลูก สะท้อนให้เห็นว่าการเป็นผู้ใหญ่ ทำให้เราลืมใช้หัวใจมองสิ่งรอบตัว เพราะทุกอย่างถูกกำหนดด้วย Logic และเวลา จับต้องได้ วัดค่าได้ แล้วเราจะวัดค่าของมิตรภาพ และดอกไม้ที่เราหลงรักยังไง

ถึงในวันนี้ เจ้าชายน้อยของฉัน ยังไม่อินกับวรรณกรรมชั้นยอด แต่เชื่อว่าเมื่อเขาเติบโตขึ้นเป็นผู้ใหญ่ คงทำให้เข้าใจชีวิตมากขึ้น มีใจอนุรักษ์เพิ่มขึ้น อย่างที่เจ้าชายน้อยดูแลกุหลาบกับดางดาว และมีเพื่อนใหม่ระหว่างการเดินทาง

ชมคลิป เจ้าชายน้อย ได้ที่ www.youtube.com/watch?v=ED2IkxBk8Ck

สำหรับนักอ่านเจ้าชายน้อย เข้ามาชม ทุกปก ทุกภาษา ที่นี่ https://petit-prince-collection.com/lang/translations.php?lang=en

ผ้ามัดหมี่สุรินทร์ ลายเจ้าชายน้อย ผืนแรกของโลก ฝีมือออกแบบลายผ้าจาก ม.เทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสุรินทร์
ภาพงานเสวนา เจ้าชายน้อย ภาษาเขมรถิ่นไทย จากปราสาทศีขรภูมิ จ. สุรินทร์
ผศ. รัศมี กฤษณมิษ สุพจน์ โลห์คุณสมบัติ ปรีดา ปัญญาจันทร์ อัษฎางค์ ชมดี ดร.ดิเรก หงษ์ทอง
2 ศิลปินแห่งชาติ เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ และ หงา คาราบาว สุรชัย จันทิมาธร
ผู้แปลเป็นภาษาเขมรสุรินทร์ อัษฎางค์ ชมดี และดร.ดิเรก หงษ์ทอง
นักเรียนรร. สิรินธร อ่านภาษาไทย เขมรถิ่นไทย และฝรั่งเศส
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสุรินทร์
อ.ทัศนียา นิลฤทธิ์ และนักศึกษามัดลายผ้ามัดหมี่ นายสิริศักดิ์ บุญเลิศ
ผ้ามัดหมี่สุรินทร์ ลายเจ้าชายน้อย ผืนแรกของโลก
โรงทอผ้าไหมยกทองจันทร์โสมา สุรินทร์

แหล่งข้อมูล

  • www.thelittleprince.com
  • https://petit-prince-collection.com/lang/translations.php?lang=en
  • https://en.wikipedia.org/wiki/List_of_literary_works_by_number_of_translations
  • https://museum.socanth.tu.ac.th/general/the-little-prince-online-exhibition/
  • https://readthecloud.co/scoop-little-prince/
  • https://readthecloud.co/collector-1/
  • https://creativematters.su.ac.th/?p=2186

หมายเหตุ *ข้อมูลจาก https://petit-prince-collection.com/lang/translations.php?lang=en

About the Author

Share:
Tags: วรรณกรรม / นิตยสารอนุรักษ์ / lepetitprince / อนุรักษ์ / littleprince / สุรินทร์ / anurakmagazine / สุพจน์ โล่ห์คุณสมบัติ / นักสะสม / เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ / หนังสือ / เจ้าชายน้อย / #เด็กโตไปพร้อมใจอนุรักษ์ / ภาษาถิ่น /

เรื่องราวอีกมากมายที่คุณจะชอบ