Sunday, May 19, 2024
ชื่นชมอดีต บทความแนะนำ

เฮือนงาม ๓ หลัง ในลำปาง

มุขแปดเหลี่ยมด้านหน้าอาคาร

บ้านป่องนัก


อันที่จริงเรือนงามหลังนี้น่าจะเรียกเป็น “พระตําหนัก” จึงจะถูก เพราะ สร้างขึ้นใน พ.ศ. ๒๔๖๘ เพื่อให้เป็นพระตําหนักประทับแรมถวายพระบาท สมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และ สมเด็จพระนางเจ้ารําไพพรรณีฯ เมื่อคราวเสด็จเยือนมณฑลฝ่ายเหนือใน พ.ศ. ๒๔๖๙ จากนั้นก็ถูกปิดไว้ เฉยๆ จนกระทั่งอีก ๓๒ ปีต่อมา ถูกใช้อีกครั้งให้เป็นพระตําหนักประทับแรมถวายพระบาทสมเด็จพระบรม ราชินีนาถ เมื่อคราวเสด็จประพาส จังหวัดภาคเหนือ พ.ศ. ๒๕๐๑ เดือนนี้ เคยใช้เป็นพระตําหนักถวายการ ต้อนรับพระมหากษัตริย์ถึง ๒ พระองค์ ทีเดียว นับว่ามีความสําคัญไม่น้อยเลย

พระตําหนักหลังนี้อยู่ในค่ายทหาร คือ มณฑลทหารบกที่ ๓๒ ค่ายสุรศักดิ์ มนตรี เป็นค่ายทหารที่ตั้งขึ้นในสมัย รัชกาลที่ ๕ เมื่อเกิดกบฏเงี้ยวที่เมือง แพร่ และลุกลามมาถึงเมืองลําปาง พลตรีพระยาสุรศักดิ์มนตรี (เจิม แสงชูโต) ได้รับพระบัญชาให้ยกกองทัพขึ้นไป ปราบที่แพร่ โดยท่านแบ่งกําลัง ส่วนหนึ่งให้ พลตรีหลวงพิทธยุทธยรรยง ยกไปปราบที่ลําปาง เมื่อปราบ ได้เรียบร้อยแล้ว จึงขอพระบรมราชานุญาตจัดตั้งกองทหารขึ้นที่ลําปาง เพื่อดูแลหัวเมืองทางภาคเหนือทั้งหลายต่อมาเจ้าหลวงบุญวาทย์วงษ์มานิต เจ้าหลวงนครลําปาง อุทิศที่ดิน ม่อนสันติสุขอันเหมาะสมให้เป็นที่ตั้งค่ายถาวรสืบมาจนปัจจุบันนี้ ภาย หลังเมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชเสด็จประพาสที่ค่ายนี้แล้ว จึงโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามค่ายทหารลําปางนี้ว่า “ค่ายสุรศักดิ์ มนตรี” เพื่อเป็นเกียรติแด่ท่าน เจ้าพระยาผู้ดําริให้ก่อตั้ง

พลตรี วิจักขฐ์ สิริบรรสพ ผู้บัญชาการมณฑล ๓๒ ผู้ทุ่มเทความคิดที่จะทำนุบำรุง ‘บ้านป่องนัก’ ให้เป็นอาคารงามสง่าเหมือนร้อยปีที่ผ่านมา
เครื่องแบบทหารในสงครามโลกครั้งที่ ๑ หมวก ๖ ใบจากซ้ายไปขวา ไทย ไทย ญี่ปุ่น (ฝ่ายอักษะ) อเมริกัน อเมริกัน อังกฤษ (พันธมิตร)
จำลองพระแท่นบรรทมประทับแรม
โต๊ะแสดงพระปรมาภิไธยและแผ่นคลี่ของแผนที่ทางหลวง
เหรียญประจำตัวทหารยามออกรบ ด้านหลังมีเลขประจำตัวเมื่อเสียชีวิตเหรียญจะถูกหักแบ่งครึ่งหนึ่งบรรจุในปากศพอีกครึ่งส่งให้ญาติ
ห้องเจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี แสดงเรื่องการปราบเงี้ยว และ
สงครามโลกครั้งที่ ๑
ยุทโธปกรณ์โบราณ
หน้าปกแผนที่พร้อมข้อมูลของจังหวัดภาคเหนือที่เสด็จฯ ประพาส

ชื่อ “บ้านป่องนัก” นี้เพิ่งจะถูกตั้ง ไม่กี่ปีมานี้เองเมื่อได้ปรับปรุงให้เป็น อาคารพิพิธภัณฑ์แล้ว คําว่า “ป๋องนัก” แปลว่า “หน้าต่างมาก” เพราะมีช่อง หน้าต่างถึง ๔๖๙ ช่อง มีบานหน้าต่าง แบบเปิดได้ถึง ๒๕๐ บาน เป็นชื่อเรียก ให้ล้อกับ “บ้านเสานัก” ซึ่งเป็นจุด ท่องเที่ยวในลําปางนั่นเอง นับว่าเป็น ชื่อที่เรียกความสนใจได้ในแง่การประชาสัมพันธ์ แม้มีนักวิชาการ บางท่านไม่ค่อยชอบนัก

ตัวอาคารอายุร่วม ๙๐ ปีนี้ยังดู สมบูรณ์และได้รับการดัดแปลงน้อย มาก แม้จะเคยถูกใช้เป็นสํานักงาน กองบัญชาการมาช่วงเวลาหนึ่ง เป็นอาคารไม้ทรงยุโรปแบบโคโลเนียล หน้าต่างที่เปิดออกทั้งบานก็ได้ หรือ กระทั่งเฉพาะส่วนบานเกล็ดเพื่อรับลม แต่กันแดดก็ได้ มุขใหญ่ด้านหน้าเป็น ทรงแปดเหลี่ยมผ่าครึ่ง ชั้นล่างของมุข เป็นมุขโล่งสําหรับบันไดทางเข้า เสาค้ํา มุข ๔ เสา ลักษณะแปลกคือ ทําเป็น เสาแบบไอออนิกของกรีก ตัวเสาเดิม เซาะร่อง (Flute) ด้วย แต่ปัจจุบัน ถูกถมร่องเป็นเสาเรียบเกลี้ยงไปแล้ว

เนื้อหาจัดแสดงข้างในพิพิธภัณฑ์ มีภาพถ่ายเก่าๆ ที่น่าสนใจ อาวุธเครื่องใช้ของทหารในสงครามโลกครั้งที่ ๑ และเครื่องเรือน ตู้เก่า เครื่องใช้ เครื่องเงิน เครื่องแก้วเก่าที่มีคุณค่า ให้ชมอยู่หลายชิ้น

แม้ว่าวิธีการนําเสนอและรายละเอียด ยังสามารถพัฒนาให้ดีขึ้นกว่านี้อีกมากมาย ก็นับว่าเป็นการเริ่มต้นที่ดีของค่ายทหารที่พยายามจะอนุรักษ์อาคารนี้ไว้ให้ปรากฏแก่สาธารณะดีกว่าปล่อยให้ลืมเลือนสูญสลายไปตามกาลเวลา

บางท่านอาจจะจําได้ว่าอาคารนี้เคยใช้เป็นฉากในละครยอดนิยมอยู่หลายเรื่อง

About the Author

Share:
Tags: บ้านป่องนัก / คุ้มเจ้าบุ / บ้าน / ลำปาง / house / architecture / interior / ฉบับที่ 16 / บ้านมิสเตอร์หลุยส์ / home /

เรื่องราวอีกมากมายที่คุณจะชอบ