Sunday, May 19, 2024
เพื่อสังคม KBANK

นำพาธุรกิจให้ก้าวกระโดดสู่การเติบโตอย่างยั่งยืนด้วยแนวคิดจากผู้บริหารแถวหน้า EARTH JUMP 2023 : New Frontier of Growth

01

คุณวราวุธ ศิลปอาชา  รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

วันนี้คาร์บอนเครดิตกำลังเข้ามาเป็นหัวใจสำคัญในการทำธุรกิจ และจะมีอิทธิพลมากขึ้นในสังคมโลก ผมเรียกว่าเป็นยุค Green Gold หรือทองคำสีเขียว ซึ่งตอนนี้ประเทศไทยมีการจัดตั้งบอร์ดซื้อขายคาร์บอนเครดิตขึ้นเป็นครั้งแรกเรียกว่า FTIX มีโครงการ T-VER ที่สามารถประเมินว่าธุรกิจของเรานั้นปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากแค่ไหน ขณะที่หลายบริษัทหัน มาปลูก ต้นไม้เพื่อใช้เป็น Carbon Access หรือการทำนาแบบเปียกสลับแห้งของพี่น้องชาวนาใน จ.สุพรรณบุรี และป่า ชุมชนที่โค้งตาบาง จ.เพชรบุรีก็สามารถขายคาร์บอนเครดิตได้แล้วจริงๆ แสดงให้เห็นว่าพี่น้องประชาชนเริ่มให้ความสนใจ กับคาร์บอนเครดิตมากขึ้น

ในขณะที่กำแพงภาษีกำลังเกิดขึ้นแล้วในโลกใบนี้ ไม่ว่าจะเป็น CBAM (Carbon Border Adjustment Mechanism) ของสหภาพยุโรป หรือ CCA (Clean Competition Act) ของสหรัฐ นี่คือมาตรการการค้าที่ส่งสัญญาณให้ ประเทศไทยต้องเริ่มปรับเปลี่ยนก่อนที่เค้าจะแบนเรา และอย่าคิดว่าการปรับเปลี่ยนธุรกิจให้ก้าวเข้าสู่สถานะ Low Carbon หรือ Sustainable มากขึ้นจะเป็นภาระหรือทำให้ต้องเสียเงิน แต่ตรงกันข้ามจะเป็นเหตุที่ทำให้เราได้เงินมากขึ้น วันนี้ทุกคนคงตระหนักแล้วว่า Climate Change ได้ส่งผลกระทบกับชีวิตของเราอย่างไร มันไม่ใช่เรื่องไกลตัวอีกต่อไป ซึ่งผมเชื่อมั่นในศักยภาพของคนไทยที่จะทำให้ประเทศก้าวเข้าสู่สถานะ Net Zero และ ESG ไม่ใช่ทางเลือกที่จะทำ หรือไม่ทำ แต่นี่คือทางรอดของสังคมไทย

02

คุณขัตติยา อินทรวิชัย   ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ. ธนาคารกสิกรไทย

ภัยพิบัติที่เกิดขึ้นในวันนี้ทำให้รู้ว่าเรารอไม่ได้แล้ว เรื่องของ Sustainbility และ ESG (Environmental, Social และ Governance) มีความสำคัญจริงๆ นอกจากจะเปลี่ยนมายด์เซ็ตในการทำธุรกิจแล้วยังเปลี่ยนวิถีชีวิตและการดำเนิน ธุรกิจของเราไปด้วย E คือเรื่องสิ่งแวดล้อม S คือเรื่องความรับผิดชอบต่อสังคม การดูแลและพัฒนาคนในองค์กร และ G คือ การตั้งเป้าติดตามความคืบหน้าและต้องทำด้วยความมีจรรยาบรรณ ซึ่งสามอย่างนี้ต้องทำไปด้วยกัน

หากเราปรับตัวได้ตามเวลาและตามวิธีที่เหมาะสม สิ่งเหล่านี้ก็จะกลายเป็นโอกาส แต่ปัจจัยที่จะทำให้ธุรกิจ สำเร็จได้ต้องเริ่มที่มายด์เซ็ตก่อน ต้องคิดใหม่ ต้องท้าทายสิ่งเดิมที่มีอยู่ ต้นทุนต้องถูกถึงจะได้เปรียบ ต้องทำงานร่วมกับ คนที่มีเป้าหมายเดียวกับเราทั้งลูกค้า ซัพพลายเออร์ รวมถึงคนที่ทำงานด้วยกัน ต้องคิดถึงสเกลที่เราทำได้ สุดท้ายคือ มีแหล่งดอกเบี้ยถูกและการวางแผนเรื่องสินเชื่อให้เหมาะกับจังหวะธุรกิจของเรา ส่วนบทบาทของธนาคารกสิกรไทย เราเป็น Financial Service Provider เราได้จัดสินเชื่อและวงเงินลงทุนไว้พร้อมที่จะให้กับลูกค้า และพร้อมที่จะไป ด้วยกันกับลูกค้าในการที่เขาจะเปลี่ยนถ่ายไปสู่ Net Zero ได้ เราจะไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง เพราะการเปลี่ยนผ่านสู่ Net Zero ทำคนเดียวไม่ได้ เราต้องทำไปด้วยกัน

EARTH JUMP 2023 :

New Frontier of Growth

03

คุณมนตรี ลาวัลย์ชัยกุล  ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ. ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม

โลกเรากำลังเปลี่ยนไปและเรื่อง ESG (Environmental, Social และ Governance) เป็นเรื่องสำคัญมาก ซึ่งการจะผลิต พลังงานรูปแบบเดิมโดยที่ไม่คำนึงถึงสภาพภูมิอากาศคงทำไม่ได้ เราจึงมองว่าระหว่างที่เราผลิตก๊าซธรรมชาติขึ้นมาใช้ เราจะทำยังไงให้การผลิตของเราสะอาดขึ้น และการที่มันสะอาดขึ้นก็ถือเป็นโอกาสทางธุรกิจด้วย ตอนนี้ ปตท.สผ. กำลัง ผลักดัน 2 เรื่อง เรื่องแรกคือ Carbon Capture Storage (CCF) การแยกคาร์บอนไดออกไซด์จากพลังงานที่ผลิตขึ้นมา แล้วนำไปเก็บไว้ในทะเล ซึ่งเรานำร่องโครงการนี้อยู่ ถ้าทำได้สำเร็จ ธุรกิจก็จะไปต่อได้อย่างยั่งยืน โดยเทคโนโลยีในการ แยกก๊าซนี้ กำลังเป็นธุรกิจหลักในอเมริกาและยุโรป เป็นเมกะโปรเจ็กต์ ที่ได้ผลตอบแทนเป็นคาร์บอนเครดิต แต่สิ่งที่จะได้ ตามมาคือ สภาพอากาศที่ดีขึ้นทั้งในรุ่นเราไปถึงรุ่นลูกรุ่นหลาน อีกเรื่อง คือ การปลูกป่าเพื่อช่วยเรื่องสภาพภูมิอากาศ

วันนี้เราพูดกันว่า อยากจะเห็นสังคมไทยเป็นสังคมคาร์บอนต่ำ ฟังแล้วเท่นะแต่ทำแล้วยาก ก่อนอื่นเราต้องมี ความเชื่อเดียวกันว่าเราช่วยกันทำให้สังคมไทยเป็นสังคมคาร์บอนต่ำได้ แล้วส่งเสริมให้ทุกภาคส่วนทำงานร่วมกัน ท้ายสุดจะต้องมีกลไกอย่างหนึ่งเกิดขึ้น คือกลไกที่เป็นอินเทนซีฟหรือรีวอร์ดที่ทั่วโลกใช้กันอย่างคาร์บอนเครดิต ก็จะทำให้ คนกล้าลงทุนในสเกลใหญ่ ส่วนสเกลเล็กนั้นเราทำอยู่แล้วเพราะเป็นส่วนหนึ่งที่เราช่วยสังคม

04

คุณจรีพร จารุกรสกุล  ประธานกรรมการบริหาร และประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่ม บมจ. ดับบลิวเอชเอ คอร์ปอเรชั่น

สองปีมานี้มีการพูดถึงเรื่อง Sustainbility ซึ่งทาง WHA Group ไม่ได้มองว่าเป็นต้นทุนที่เพิ่มขึ้น แต่มองเห็นเป็นโอกาส ทางธุรกิจอันใหม่หากเราเข้าใจและศึกษามันจริงๆ ซึ่งที่ผ่านมาเรามองเห็นเทรนด์ที่จะมาเปลี่ยนโลก เราเชื่อว่าไคลเมท เชนจ์จะมา เราจึงเน้นเรื่องพลังงานสะอาด เราศึกษาเรื่องโซลาตั้งแต่เมื่อ 10 ปีก่อน เราทำกรีนบิวดิ้ง และประกาศว่า จะเป็นนิคมฯ แห่งแรกที่ทำเรื่องสมาร์ทไมโครกริด เราคิดแพลทฟอร์ม เรื่องการเทรดพลังงานขึ้นมาจนได้รับรางวัลจาก ตลาดหลักทรัพย์ฯ ในด้านอินโนเวชั่นคอมพานี คือมันมีวิธีคิดมากมายในการทำให้ธุรกิจไปต่อได้ แต่เราต้องอย่าช้า

สำหรับประเทศไทยจะไปต่อได้อย่างยั่งยืน เราต้องทำงานประสานกันทั้งภาครัฐและภาคเอกชนต้องมองไปใน ทางเดียวกัน แน่นอนว่าเรื่องสิ่งแวดล้อมครอบคลุมทั้งโลกเอาไว้ แล้วธุรกิจต่างๆ ที่เราทำกันอยู่ได้ลงทุนเรื่องสิ่งแวดล้อม ยังไงบ้าง ถัดมาเรื่องเศรษฐกิจซึ่งสำคัญมากๆ ที่ต้องมองภาพระยะยาวแล้ววางแผนเพื่อให้ประเทศไปต่อได้ สุดท้ายคือ สังคมหรือคน ประเทศเราจะก้าวไปโดยที่สร้างความเหลื่อมล้ำกันไปเรื่อยๆ ใช่มั้ย คนรวยก็รวยไป คนจนก็จนไปเรื่อยๆ เราจะไปต่อไม่ได้ถ้าไม่เชื่อมช่องว่างนี้ นั่นคือเรื่องคุณภาพ ทั้งคุณภาพของการศึกษา คุณภาพของการรักษาพยาบาลและ การเข้าถึงบริการต่างๆ จากรัฐบาล ถ้าประเทศไทยสามารถบรรลุทั้งสามเรื่องนี้ได้ ประเทศไทยก็จะไปต่อได้อย่างยั่งยืน

05

คุณอโณทัย สังข์ทอง  ผู้อำนวยการสำนักสื่อสารและทะเบียนคาร์บอนเครดิต องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน)

บางคนอาจคิดว่าท้องยังไม่อิ่มก็จะไม่สนใจเรื่องสิ่งแวดล้อม แต่อยากให้มองว่าการดำเนินงานขององค์กรขนาดใหญ่ ที่ตั้งเป้าหมายว่าจะเป็น Net Zero เค้าจะมองที่คู่ค้าด้วย ดังนั้น หากเราไม่มีการปรับตัวหรือเตรียมความพร้อมเพื่อช่วย ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เราก็อาจสูญเสียโอกาสทางการค้าได้ นอกจากนี้ทางธนาคารแห่งประเทศไทยจะออก เกณฑ์การจัดอันดับกิจการด้านสิ่งแวดล้อม เป็นสีเขียว เหลือง แดงตามลำดับการปล่อยก๊าซเรือนกระจกมาก-น้อย ซึ่งพอมีเกณฑ์นี้ทางสถาบันการเงินก็จะนำไปตัวชี้วัดในการพิจารณาให้สินเชื่อ ฉะนั้น หากเรายังไม่มีการปรับตัวที่จะทำ โครงการที่ตอบสนองต่อเรื่องสภาพสิ่งแวดล้อมและสภาพภูมิอากาศ โอกาสการได้รับสินเชื่อก็จะยากขึ้น

ตอนนี้ทาง อบก. ได้พยายามส่งเสริมให้ผู้ประกอบการเข้ามามีส่วนร่วมกับประเทศ ด้วยการจัดตั้ง Thailand Carbon Network วันนี้ยังเป็นการเข้าร่วมแบบสมัครใจอยู่ แต่ในประเทศที่พัฒนาแล้วหลายแห่งใช้เป็นภาคบังคับกันแล้ว โดยใช้กลไกราคาคาร์บอนมาขับเคลื่อนระบบเศรษฐกิจ เช่น มีการจำกัดสิทธิในการปล่อยก๊าซเรือนกระจก หรือบาง ประเทศมีการจัดเก็บภาษีคาร์บอนด้วย ตอนนี้ใครเริ่มปรับตัวแล้วก็น่าจะรอด ไม่ตกขบวน แต่ถ้าไม่ปรับตัวก็ไม่รอดแน่ เพราะนี่ไม่ใช่ทางเลือกอีกต่อไปแล้วกับเป้าหมายที่จะเป็น Carbon Neutrality เพื่อนำไปสู่การทำธุรกิจอย่างยั่งยืน

About the Author

Share:
Tags: Environment / ธรรมชาติ / สิ่งแวดล้อม / green / Sustainability / sustainable / ฉบับที่ 67 / EARTH JUMP /

เรื่องราวอีกมากมายที่คุณจะชอบ