Sunday, May 5, 2024
เพื่อสังคม ภูมิปัญญาไทย ปตท

ชุมชนลำสินธุ์ จ.พัทลุง เข้มแข็งด้วยแนวทางเกษตรสมัยใหม่

อดีตเคยผ่านประวัติศาสตร์การต่อสู้ทางการเมืองยุคถังแดงมาก่อน คนในชุมชนจึงมีความรักใคร่สามัคคี


เชื่อมั่นว่าในปี 2566
ชุมชนลำสินธุ์ จ.พัทลุง
บรรลุเป้าหมาย ยกระดับการผลิตพืชสมุนไพร 60,000 บาทต่อแปลงต่อเดือน

ใครได้มาเยือนชุมชนลำสินธุ์ในอ.ศรีนครินทร์ จ.พัทลุง เชื่อว่าต้องประทับใจในความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติ ที่นี่ ดินดีปลูกอะไรก็งอกงาม มีผืนป่า มีสายน้ำที่ไหลรินจากเทือกเขาบรรทัด ทั้งยังมีแหล่งท่องเที่ยวที่ธรรมชาติสร้างสรรค์อย่างน้ำตก บ่อน้ำพุร้อน อีกทั้งยังเป็นชุมชนต้นแบบที่มีความเข้มแข็งอีกด้วย

เพราะอดีตเคยผ่านประวัติศาสตร์การต่อสู้ทางการเมืองในยุคถังแดงมาก่อน คนในชุมชนจึงมีความรักใคร่สามัคคี มีความกระตือรือร้นที่จะพัฒนาและพึ่งพาตนเอง โดยในปีนี้ชุมชนก็ได้กำหนดแนวทางการพัฒนาไว้อย่างชัดเจนว่า จะพัฒนาแปลงผักเหลียงให้เป็นพืชเศรษฐกิจของชุมชน พัฒนาสมุนไพรให้เป็นอาหารและยา พัฒนาการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ และพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนในตำบลลำสินธุ์สู่ความเป็นเลิศ


เมื่อ ปตท. ได้จัดจ้างพนักงานในโครงการ Restart Thailand เพื่อลดปัญหาการว่างงานเพิ่มโอกาสทางด้านเศรษฐกิจของครัวเรือนและสังคม โดยโครงการนวัตกรรมสร้างรอยยิ้ม กลุ่ม ปตท. มอบหมายให้พนักงาน Restart Thailand ช่วยปฏิบัติงาน Smart Farming ลงพื้นที่ไปช่วยต่อยอดต้นทุนทางธรรมชาติและสังคมที่ชุมชนมีอยู่อย่างแข็งแกร่ง ศูนย์สมุนไพรครบวงจรจึงถูกจัดตั้งขึ้นตามหลักการเกษตรสมัยใหม่ (Smart Farming) ภายใต้ “โครงการนวัตกรรมสร้างรอยยิ้ม” ที่สนับสนุนโดยกลุ่ม ปตท. ด้วยหวังให้ผู้คนในชุมชนสามารถบริหารจัดการได้ด้วยตนเอง

ศูนย์สมุนไพรแห่งนี้ร่มรื่นด้วยพื้นที่สีเขียวและพืชสมุนไพรไทยนานาชนิด โดยมีการจัดแบ่งพื้นที่ใช้งานออกเป็น 3 โซน ในโซนที่ 1 เป็นศาลาพักผ่อนและจุดควบคุมระบบการให้น้ำแก่พืชพรรณที่ปลูกทั้งในและนอกโรงเรือน

สำหรับโซนที่ 2 เป็นพื้นที่แสดงผลงานวิจัยร่วมกันระหว่างชุมชนกับ ปตท. สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธกส.) มหาวิทยาลัยทักษิณ และสำนักงานเกษตรจังหวัดพัทลุง เราจะเห็นขมิ้นชันและสมุนไพรต่างๆ ทั้งที่ปลูกลงดินและปลูกอยู่ในกระถาง ตั้งเรียงรายอยู่ในและนอกโรงเรือน 

ส่วนโซนที่ 3 เป็นแหล่งรวมสมุนไพรพื้นถิ่นพันธุ์ต่างๆ สำหรับใช้ในการศึกษาต่อยอดเรื่องการขยายพันธุ์ ทั้งยังเป็นแหล่งปลูกสมุนไพรที่จะใช้ในการอบเพื่อทำลูกประคบของชุมชน ขณะเดียวกันสมุนไพรที่ใช้ปรุงเป็นอาหารรับประทานภายในศูนย์แห่งนี้และที่บริการให้กับชุมชน ก็ได้จากโซนนี้ที่มีบ่อพักน้ำเพื่อการเกษตรพร้อมอยู่ด้วย 

กล่าวได้ว่าการเข้ามาช่วยดำเนินงานของพนักงาน Restart Thailand ทำให้ชาวชุมชนลำสินธุ์มีโอกาสพัฒนาตนเองให้มีความรู้ สามารถยกระดับการผลิตพืชสมุนไพรคุณภาพด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีได้อย่างแท้จริง ที่สำคัญคือ มองเห็นภาพอนาคตที่จะเกิดขึ้นตามเป้าหมายที่วางไว้ โดยหากคนในชุมชนที่เข้าร่วมเป็นสมาชิกโครงการทั้งหมด 35 ไร่ มาช่วยกันปลูกผักเหลียงไม่น้อยกว่า 3,000 ต้น โดยมีการพัฒนาแปลงปลูกผักเหลียงร่วมกับพืชผักสมุนไพรชนิดอื่นๆ ไม่น้อยกว่า 10 ชนิด พร้อมเรียนรู้ที่จะจดบันทึกรายรับ-รายจ่ายภายในแปลง และสรุปเป็นข้อมูลไว้อย่างชัดเจนทุกเดือน 

ก็เชื่อมั่นว่าในปี 2566 ชุมชนลำสินธุ์จะสามารถบรรลุเป้าหมายผลผลิตโดยรวมที่ 60,000 บาทต่อแปลงต่อเดือน นั่นหมายถึงผลผลิตที่เพียงพอและมีคุณภาพที่ดี ขณะที่ชุมชนก็ได้รับการพัฒนาให้เข้มแข็งยิ่งขึ้นจากความชำนาญในการบริหารจัดการพื้นที่เกษตรกรรมที่มีประสิทธิภาพ และสามารถเป็นต้นแบบให้แก่ชุมชนอื่นๆ ต่อไปได้เป็นอย่างดี 

About the Author

Share:
Tags: ปตท / นิตยสารอนุรักษ์ / Restart Thailand / อนุรักษ์ / smartfarming / anurakmagazine / ชุมชนลำสินธุ์ / พัทลุง / ภูมิปัญญา / โครงการนวัตกรรมสร้างรอยยิ้ม / ชุมชน / อนุรักษ์แท็บลอยด์ / เพื่อสังคม /

เรื่องราวอีกมากมายที่คุณจะชอบ