Monday, May 20, 2024
เพื่อสังคม DTGO RISC สัมภาษณ์

RISC by MQDC ร่วมสร้างความอยู่ดีมีสุขพร้อมความยั่งยืนของทุกชีวิต

หนังสือ Sustainnovation นวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน

รศ.ดร.สิงห์ อินทรชูโต กล่าวย้อนไปเมื่อปี 70 ที่องค์การสหประชาชาติออกหลักการ Triple bottom line สร้างสมดุลด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ผ่านมากว่า 50 ปี จึงมีการเปลี่ยนเป้าหมายให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน SDGs 17 ประการ เพื่อความยั่งยืนในอีก 7 ปีข้างหน้า (2030) RISC จึงเริ่มลงมือเป็นส่วนหนึ่งด้าน Sustainnovation ด้วย

หนังสือใหม่ของ RISC จึงรวบรวมคำนิยาม ประสบการณ์ องค์ความรู้ แนวทางที่ยอมรับและใช้ในสากลทางด้านการส่งเสริมความยั่งยืน (Sustainability) และนวัตกรรม (Innovation) ที่จะสร้างความอยู่ดีมีสุข (For All Well-Being) ท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงของโลก ให้เกิดความสมดุล

นอกจากนวัตกรรมใหม่สร้างความยั่งยืนจากทั่วโลกที่น่าสนใจ ยังมีนวัตกรรมใหม่ของไทยที่ RISC ทั้งพัฒนาขึ้นมาเอง และร่วมมือกับหน่วยงานต่างๆ ในการค้นคว้า เช่น หอฟอกอากาศแบบไฮบริด (Fahsai) ผนังปลูกต้นไม้ดักฝุ่นพร้อมระบบฟอกอากาศ (Bio Filter Bus Stop) ห้องฉุกเฉินความดันลบ (Negative Pressure ER 100% Fresh Air) หน้าต่างเพิ่มการไหลเวียนของอากาศที่ติดตั้งใน MQDC (Single-sided Ventilation Window) พรมเส้นใย AVA ยับยั้งไวรัสและเชื้อโรคเพียงเดินบนพรมแค่ 4 ก้าว เป็นต้น

รศ.ดร.สิงห์ อินทรชูโต
ดร.การดี เลียวไพโรจน์

ทั้งนี้ยังมีแนวคิดน่าสนใจจากผู้เชี่ยวชาญหลากหลายอาชีพ เช่น ดร.การดี เลียวไพโรจน์ รศ.นพ.เชิดชัย นพมณีจำรัสเลิศ ดร.ภัทรารัตน์ ตันนุกิจ รศ.ดร.ชัยรัตน์ ตรีทรัพย์สุนทร รศ.ดร.ยศชนัน วงศ์สวัสดิ์ ดร.ศิรวัจน์ อิทธิภูริพัฒน์ เกชา ธีระโกเมน รศ.ดร.อรรจน์ เศรษฐบุตร และ ทวีสุข ธรรมศักดิ์ ให้ศึกษา

หลักสูตรแรกของโลกที่เน้น “อยู่ดีมีสุข” แบบยั่งยืนของ RISC

ถ่ายทอดองค์ความรู้ วิเคราะห์ เปิดมุมมองจากประสบการณ์ในการพัฒนาโครงการเพื่อสุขภาวะที่ดี โดยผู้เชี่ยวชาญหลายศาสตร์

Well-Being Design & Engineering Program หลักสูตรแรกของโลก ที่เน้นถ่ายทอดองค์ความรู้หลายหลากศาสตร์ทั้งด้านการออกแบบ สถาปัตยกรรมศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ วิจัยเชิงประยุกต์เพื่อส่งเสริมสุขภาวะในสถานการณ์โลกรวน การอยู่รอดจากภัยพิบัติต่างๆ ทรัพยากร ธรรมชาติ สัตว์และพันธุ์พืชที่ลดลง การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และการก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ การใช้ชีวิตของสังคมเมือง ล้วนส่งผลต่อสุขภาพจิตและความเครียดในการใช้ชีวิต

RISC แบ่งประเภทของ Well-Being ดังนี้

1. ความยั่งยืนทางด้านจิตใจ (Mental/Emotional Well-Being)

2. ความยั่งยืนทางด้านร่างกาย (Physical Well-Being)

3. ความยั่งยืนทางด้านสิ่งแวดล้อม (Environment Well-Being)

หลักสูตร Well-Being Design & Engineering Program นำโดย รศ.ดร.สิงห์ อินทรชูโต หัวหน้าคณะที่ปรึกษา RISC จะมาร่วมแบ่งปันข้อมูลการวิจัย แนะนำหลักสูตร และคำนิยามของคำว่า “Well-Being”  พร้อมเปิดมุมมองจากประสบการณ์ในการพัฒนาโครงการจริงที่ประยุกต์ศาตร์ต่างๆ พร้อมผู้เชี่ยวชาญการสร้างความอยู่ดีมีสุขทั้งจากผู้ทรงคุณวุฒิในวงการ ได้แก่ เกชา ธีระโกเมน ประธานกรรมการ กลุ่มบริษัท อีอีซี เอ็นจิเนียริ่ง เน็ทเวิร์ค จำกัด (EEC)  และ ดร.ศิรวัจน์ อิทธิภูริพัฒน์ หัวหน้าศูนย์วิจัยและนวัตกรรมประสาทวิทยาศาสตร์ สถาบันการเรียนรู้ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี และนักวิจัย RISC ที่ผ่านการทำงานจริงในการพัฒนาโครงการ มาร่วมแบ่งปันข้อมูลทั้ง 3 ด้านของ Well-Being ได้แก่

ด้าน Emotional/ Mental Well-Being โดย ดร.สฤกกา พงษ์สุวรรณ ผู้อำนวยการ ผู้เชี่ยวชาญด้าน Behavior & Psychology, Aging Design, Neuroscience for Living Solution และหัวหน้า Happiness Science Hub 

ด้าน Physical Well-Being  โดย ดร.จิตพัต ฉอเรืองวิวัฒน์ ผู้อำนวยการอาวุโส ผู้เชี่ยวชาญด้าน Sustainable Design, Circular Economy, Construction System, Affordable Housing design สริธร อมรจารุชิต ผู้ช่วยผู้อำนวยการ ผู้เชี่ยวชาญด้าน Design Solution for Well-Being, Sustainable Design, Research Integration  วสุธา เชน สถาปนิกวิจัยอาวุโส และผู้เชี่ยวชาญระดับ LEED AP BD+C, Fitwel Ambassador และ WELL AP คุณ เพชรรินทร์ พงษ์เพ็ชรกูล สถาปนิกวิจัยอาวุโส  ผู้เชี่ยวชาญระดับ LEED AP BD+C, WELL AP, Fitwel Ambassador, TREES-A NC 

ด้าน Environmental Well-Being โดย ธนวัฒน์ จินจารักษ์ นักวิจัยอาวุโส ฝ่ายสิ่งแวดล้อม Urban Environmental & Biodiversity Engineer และ คุณ ทิพทับทิม ภูมิพาณิชย์ สถาปนิกวิจัยอาวุโส Sustainable Building Materials

และแบ่งปันประสบการณ์ในสถานที่จริง โดยนักวิจัย RISC ได้แก่ ณพล เกียรติก้องมณี สถาปนิกวิจัยอาวุโส นวัตกร Living Well และผู้เชี่ยวชาญอาคารเขียว TREES-A ชนินทร์ กุลสุรกิจ สถาปนิกวิจัยและผู้เชี่ยวชาญระดับ WELL AP, DGNB International, TREES-A และ DGNB Consultant  ณัฐภัทร ตันจริยภรณ์ นักวิจัยอาวุโส ปฏิบัติการเชื่อมต่อสมองกับคอมพิวเตอร์  และ กชกร รัตนมา นักวิจัยความหลากหลายทางชีวภาพ พร้อมไฮไลต์เลือกเรียนรู้จากโครงการจริง เช่น The Forestias, 101 TRUE DIGITAL PARK  ,  RISC Brain Lab, RISC Innovation Lab  หรือ  Biodiversity Survey  

นับเป็นการรวบรวมข้อมูลวิจัย ชวนกันการลงมือทำครั้งใหญ่เพื่อทุกคน ทุกชีวิตในวันนี้

สนใจลงทะเบียนเรียน “Well-Being Design & Engineering Program” ได้ที่ https://bit.ly/register_wdep

ศึกษารายละเอียดหลักสูตร “Well-Being Design & Engineering Program” เพิ่มเติมได้ที่ https://bit.ly/detail_wdep

นิตยสารอนุรักษ์ ฉบับที่ 63
เรื่อง: อาภาวัลย์ ลดาวัลย์
ภาพ: ธนิต มณีจักร และ RISC

About the Author

Share:
Tags: ดร.จิตพัต ฉอเรืองวิวัฒน์ / รศ.ดร.อรรจน์ เศรษฐบุตร / sustainnovation / สริธร อมรจารุชิต / นิตยสารอนุรักษ์ / ทวีสุข ธรรมศักดิ์ / well-being program / วสุธา เชน / ดร.สฤกกา พงษ์สุวรรณ / เพชรรินทร์ พงษ์เพ็ชรกูล / ณพล เกียรติก้องมณี / ธนวัฒน์ จินจารักษ์ / ชนินทร์ กุลสุรกิจ / ทิพทับทิม ภูมิพาณิชย์ / ศูนย์วิจัยและนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน / ณัฐภัทร ตันจริยภรณ์ / ดร.การดี เลียวไพโรจน์ / RISC / กชกร รัตนมา / รศ.นพ.เชิดชัย นพมณีจำรัสเลิศ / MQDC / 101 TRUE DIGITAL PARK / ดร.ภัทรารัตน์ ตันนุกิจ / DTGO / เกชา ธีระโกเมน / รศ.ดร.ชัยรัตน์ ตรีทรัพย์สุนทร / ดร.ศิรวัจน์ อิทธิภูริพัฒน์ / รศ.ดร.ยศชนัน วงศ์สวัสดิ์ / ดร.สิงห์ อินทรชูโต /

เรื่องราวอีกมากมายที่คุณจะชอบ